บัตรลงทะเบียนผู้พักที่จะต้องบันทึกให้แล้วเสร็จภายใน 24 ชั่วโมงและส่งให้นายทะเบียนทุกสัปดาห์ ตามมาตรา 35 และมาตรา 36 ของพรบ.โรงแรม นับแต่นี้ไปสามารถนำส่งข้อมูลทะเบียนผู้พักทางออนไลน์ได้แล้วนะคะ
เมื่อตัดสินใจจะเป็นเจ้าของกิจการโรงแรม-รีสอร์ทแล้ว มีเรื่องให้เราต้องคิด ตัดสินใจและลงมือทำกันมากมายหลายเรื่องเลยนะคะ เริ่มตั้งแต่หาเงินทุน วางแผนก่อสร้างและยังมีอีกหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องทางกฎหมายให้เราได้ปวดหัวกัน ทั้งเรื่องขอใบอนุญาตก่อสร้าง ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม และหลังจากดำเนินการเปิดกิจการโรงแรม-รีสอร์ทไปแล้วก็ยังมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการลงทะเบียนผู้เข้าพักตามพระราชบัญญัติโรงแรมเพิ่มเข้ามาอีกด้วย
แสดงเนื้อหาเพิ่ม คลิกที่นี่
วัตถุประสงค์ของการจัดทำทะเบียนผู้เข้าพัก (ร.ร.3 และ ร.ร.4)
เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลใด หลบซ่อนหรือมั่วสุมในเขตโรงแรมในลักษณะที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในบ้านเมือง หรือจะมีการกระทําความผิดอาญาขึ้นในโรงแรม
มาตรา 35 ระบุว่า
“ผู้จัดการต้องจัดให้มีการบันทึกรายการต่างๆเกี่ยวกับผู้พักและจํานวนผู้พักในแต่ละห้องลงในบัตรทะเบียนผู้พัก(ร.ร.3)ในทันทีที่มีการเข้าพัก โดยให้ผู้พัก คนใดคนหนึ่ง เป็นผู้ลงลายมือชื่อในบัตรทะเบียนผู้พัก(ร.ร.3)”
และ มาตรา 35 วรรคหนึ่ง ระบุว่า
“หากผู้พักมีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์และเข้าพักตามลําพังให้ผู้จัดการ(ม.33)หรือผู้แทน(ม.32)ลงลายมือชื่อกํากับไว้ด้วย และนําไปบันทึกลงในทะเบียนผู้พัก(ร.ร.4)ให้แล้วเสร็จภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากมีการลงทะเบียนเข้าพัก
บทกำหนดโทษ (โทษปรับทางปรกครอง)
มาตรา 56 ระบุว่า
“…ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 35 วรรคหนึ่ง …ต้องระวางโทษปรับทางปกครองตั้งแต่ 2หมื่นบาทถึง 1แสนบาท”
มาตรา 35 วรรคสอง ระบุว่า
“ถ้ารายการซึ่งจะต้องบันทึกลงในทะเบียนผู้พัก (ร.ร.4)ตามวรรคหนึ่งซ้ำกับรายการวันก่อน ให้บันทึกรายการดังกล่าวว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลง”
มาตรา 35 วรรคสาม ระบุว่า
“การบันทึกรายการต่างๆ เกี่ยวกับผู้เข้าพักลงในบัตรทะเบียนผู้พัก(ร.ร.3) และทะเบียนผู้พัก(ร.ร.4) ต้องบันทึกทุกรายการให้ครบถ้วน ห้ามมิให้ปล่อยช่องว่างไว้โดยไม่มีเหตุผลสมควร”
บทกำหนดโทษ
มาตรา 57 ระบุว่า
“…ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 35 วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกิน 1 หมื่นบาท”
การเก็บรักษาบัตรทะเบียน(ร.ร.3) และ ทะเบียนผู้พัก(ร.ร.4)
มาตรา 35 วรรคสี่ ระบุว่า
ผู้จัดการต้องเก็บรักษาบัตรทะเบียนผู้พัก(ร.ร.3)และทะเบียนผู้พัก(ร.ร.4) ไว้เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี และต้องให้อยู่ในสภาพที่ตรวจสอบได้”
บทกำหนดโทษ
มาตรา 56 ระบุว่า
“…ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 35 ….วรรคสี่ ต้องระวางโทษปรับทางปกครองตั้งแต่ 2 หมื่นบาท ถึง 1 แสนบาท”
มาตรา 35 วรรคห้า ระบุว่า
“บัตรทะเบียนผู้พัก(ร.ร.3) และทะเบียนผู้พัก(ร.ร.4) ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกําหนด” ประกาศกระทรวงมหาดไทย
จากพระราชบัญญัติโรงแรมดังกล่าวตีความได้ว่า เมื่อมีแขกเข้าพักไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือชาวต่างชาติจะต้องให้แขกลงทะเบียนผู้พักใน ร.ร.3 ทุกครั้งและทางโรงแรมจะต้องนำข้อมูลใน ร.ร.3 นั้นไปบันทึกลงในทะเบียนผู้เข้าพัก ร.ร.4 ภายใน 24 ชั่วโมงและต้องนำทะเบียนผู้เข้าพักในโรงแรมไปส่งให้นายทะเบียนที่ฝ่ายปกครองทุกสัปดาห์ หากละเลยไม่ปฏิบัติก็จะมีความผิดตามบทกำหนดโทษ
การนำส่งทะเบียนผู้เข้าพักทุกสัปดาห์เช่นนี้ ฉันเชื่อว่าคงจะเพิ่มภาระให้กับทางเจ้าของโรงแรมหลายท่านแน่ ๆ เลยค่ะ แต่ตอนนี้ทางกรมการปกครองได้พัฒนาระบบงานโรงแรมให้สามารถส่งข้อมูลทะเบียนผู้เข้าพักได้ทางออนไลน์แล้วนะคะ ซึ่งสะดวกมาก ๆ ช่วยประหยัดเวลานำเอกสารไปส่งด้วยตัวเองหรือไม่ต้องจัดส่งทางไปรษณีย์อีกแล้ว ส่วนขั้นตอนและวิธีการสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์ด้านล่างนะคะ
ดูรายละเอียด การนำส่งทะเบียนผู้เข้าพัก (ร.ร.4) ทางอิเล็คทรอนิค คลิกที่นี่…
หมายเหตุ : สำหรับท่านที่กำลังจะยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม สามารถยื่นขอใบรับแจ้งเป็นผู้จัดการและขอรหัสใช้งานการส่งข้อมูลทะเบียนผู้เข้าพัก (ร.ร.4) ทางอิเล็คทรอนิกพร้อมกันได้เลยค่ะ
ตัวอย่าง ใบแจ้งรหัสใช้งานการส่งข้อมูลทะเบียนผู้เข้าพัก (ร.ร.4) ทางอิเล็คทรอนิก

สิ่งที่จำเป็นต้องระบุใน ทะเบียนผู้เข้าพัก ร.ร.4 มีดังนี้
- วันที่เข้าพัก (รูปแบบ วว/ดด/ปปปป ใช้ปีพุธศักราช)
- เวลาที่เข้าพัก (รูปแบบ 08.05 หรือ 08:05)
- ห้องพักเลขที่
- ที่อยู่ปัจจุบัน
- ประเทศที่อยู่ปัจจุบัน (ตัวเลขตามรหัสประเทศ จากตารางรหัส)
- อาชีพ (ตัวเลขตามรหัสอาชีพ จากตารางรหัส)
- มาจากตำบล อำเภอ จังหวัดใด (เป็นตัวหนังสือ ชื่อตำบล ชื่ออำเภอ ชื่อจังหวัด)
- มาจากประเทศใด (ตัวเลขตามรหัสประเทศ จากตารางรหัส)
- จะไปที่ตำบล อำเภอ จังหวัดใด (เป็นตัวหนังสือ ชื่อตำบล ชื่ออำเภอ ชื่อจังหวัด)
- จะไปที่ประเทศใด (ตัวเลขตามรหัสประเทศ จากตารางรหัส)
- เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก หรือใบสำคัญคนต่างด้าวอย่างใดอย่างหนึ่ง
- ชื่อและนามสกุลภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ตัวอย่างหน้าจอระบบตัวแทนของโรงแรมเพื่อใส่ข้อมูลใบลงทะเบียนผู้พัก ร.ร.4 แบบออนไลน์
สำหรับการแจ้งทะเบียนผู้เข้าพักนั้น หากมีแขกที่เข้าพักในห้องพักมากกว่า 1 ท่าน คุณไม่จำเป็นต้องแจ้งจำนวนแขกจนครบทุกคนนะคะ สามารถแจ้งเป็นตัวแทนห้องละ 1 คนก็ได้ค่ะ และถ้าแขกเข้าพักหลายวันก็จะต้องบันทึกข้อมูลของแขกท่านนั้นไปเรื่อย ๆ ทุกวันจนกว่าจะ Check Out
ขอเพิ่มเติมในเรื่องของแขกที่เข้าพักเป็นชาวต่างชาติ นอกเหนือจากการบันทึกลงในทะเบียนผู้เข้าพักตามแบบ ร.ร.4 แล้วคุณต้องแจ้งที่พักคนต่างด้าว ด้วยฟอร์ม ตม.30 ไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) ทราบภายใน 24 ชม. หลังเข้าพักด้วยค่ะ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความ กฎหมายการให้ที่พักอาศัยแก่ชาวต่างชาติ ที่เจ้าของโรงแรมต้องรู้!!! คลิกที่นี่…
นอกเหนือจากหัวใจที่ต้องมีความกล้าเพื่อตัดสินใจลงทุนสร้างธุรกิจโรแรม-รีสอร์ทแล้ว การทำธุรกิจโรงแรม-รีสอร์ทยังมีรายละเอียดต่าง ๆ มากมายที่เจ้าของกิจการต้องรู้ ฉันหวังว่าการแบ่งปันความรู้ผ่านบทความใน www.a-lisa.net จะช่วยให้ทุกท่านนำไปเป็นแนวทางเพื่อสร้างธุรกิจโรงแรม-รีสอร์ทในฝันของตัวเองได้จนประสบความสำเร็จนะคะ

“เราเชื่อว่าการแบ่งปันความรู้ คือพลังที่ยิ่งใหญ่”
ขอให้ทุกท่านจงสร้างธุรกิจโรงแรมที่ดี มีคุณภาพเพื่อช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวให้กับประเทศไทยของเรา
เพื่อแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และแรงบันดาลใจ ฝากกดไลค์ กดแชร์ และบอกต่อด้วยนะคะ
มาร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันกับหลักสูตร เจ้าของโรงแรม-รีสอร์ทขนาดเล็ก ใคร ๆ ก็เป็นได้
คอร์สอบรมที่ช่วยให้คุณเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมได้ ภายใน 2 วัน
หนังสือที่คนอยากทำธุรกิจโรงแรมต้องอ่าน!!!
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
มาเป็นเพื่อนกับเราทางไลน์!!!
ถ้าไม่อยากพลาดข่าวสารและบทความดีๆ
