
สถาปนิก คือผู้ที่จะช่วยเราเนรมิตรโครงการธุรกิจโรงแรม-รีสอร์ทในฝันให้เป็นจริง โดยพิจารณาจากความต้องการจากเจ้าของโครงการ แล้วแปรรูปออกมาเป็นอาคารโดยผ่านการวิเคราะห์พื้นที่ สภาพแวดล้อม สภาพอากาศ การเลือกใช้วัสดุ รวมถึงการควบคุมงบประมาณไม่ให้บานปลาย
โดยผนวกเอาความคิดสร้างสรรค์และความสวยงามไว้บนสถาปัตยกรรม และสถาปนิกต้องรับผิดชอบหากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นกับสิ่งก่อสร้างในภายหลังด้วยค่ะ แล้วการคิดคำนวณค่าออกแบบของสถาปนิกในการออกแบบอาคารประเภทต่าง ๆ นั้นเขาคิดกันอย่างไร ในบทความนี้ฉันจึงไปค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อนำมาแบ่งปันให้กับท่านที่สงสัยใคร่รู้ได้คำตอบเป็นที่กระจ่างกันค่ะ
แสดงเนื้อหาเพิ่ม คลิกที่นี่
ค่าบริการของสถาปนิก คือ ค่าบริการออกแบบ โดยแบบที่สถาปนิกเขียนออกมานั้น บ้างก็รู้จักกันดีว่า “พิมพ์เขียว” หรือที่เรียกว่า “แบบก่อสร้าง” คือแบบชุดเดียวกับที่ใช้ในการขออนุญาตและนำไปก่อสร้าง รวมถึงสามารถตรวจสอบงานก่อสร้างของช่างผู้รับเหมาว่าได้ก่อสร้างตรงตามแบบหรือไม่และยังครอบคลุมถึง ค่าคำนวณแบบโครงสร้าง ค่าวิศวกร ค่าเขียนแบบ และค่าวิชาชีพ
ค่าบริการวิชาชีพสถาปนิกใช้มาตรฐานจาก “คู่มือสถาปนิก พ.ศ. 2547” ที่กำหนดจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ มาเป็นเกณฑ์ในการคิดค่าบริการ โดยทั่วไปแล้ววิธีคิดค่าออกแบบ มีแนวทางปฏิบัติกัน 5 วิธี ดังต่อไปนี้ค่ะ
- ค่าบริการวิชาชีพในอัตราร้อยละ ( Percentage Fees)
- ค่าบริการวิชาชีพตามเวลา ( Time Charge Fees)
- ค่าบริการวิชาชีพแบบเหมาจ่าย (Lump Sum Fees)
- ค่าบริการวิชาชีพแบบต้นทุนบวกค่าดำเนินการ ( Cost Plus Fees)
- ค่าบริการวิชาชีพตามปริมาณพื้นที่ ( Built Area Fees)
โดยส่วนใหญ่แล้วสถาปนิกจะนิยมใช้การคำนวณแบบ ค่าบริการวิชาชีพในอัตราร้อยละ (percentage Fees) เป็นหลักค่ะ เพราะสะดวก รวดเร็ว ส่วนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสเกลของงานเป็นปัจจัยหลักค่ะ โดยมีการกำหนดค่ามาตรฐานของสมาคมสถาปนิกสยามฯ แบ่งประเภทการบริการออกแบบสถาปัตยกรรมไว้เป็น 6 ประเภทตามของชนิดอาคาร ซึ่งแต่ละประเภทจะมีอัตราที่ไม่เท่ากันตามความซับซ้อนของงาน การคิดค่าแบบจะมีสัดส่วนลดลงเรื่อย ๆ เหมือนขั้นบันไดตามงบประมาณก่อสร้าง ได้แก่
ประเภทที่ 1 = ตกแต่ง ภายใน ครุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์
ประเภทที่ 2 = พิพิธภัณฑ์ วัด อนุสาวรีย์ อาคารอนุสรณ์ที่วิจิตรสวยงาม
ประเภทที่ 3 = บ้าน (ไม่รวมตกแต่งภายใน)
ประเภทที่ 4 = โรงพยาบาล รัฐสภา โรงแรม ธนาคาร คอนโดมิเนียม วิทยาลัย
ประเภทที่ 5 = สำนักงาน สรรพสินค้า หอพัก โรงเรียน โรงอุตสาหกรรม
ประเภทที่ 6 = โกดัง อาคารจอดรถ ห้องแถว ตลาด
โดยแต่ละประเภทจะแยกวิธีค่าบริการตามงบประมาณที่ได้ ดังต่อไปนี้ (หน่วยเป็นร้อยละของงบประมาณก่อสร้าง )

วิธีการคำนวณ
สมมติฐานว่าคุณต้องการออกแบบโรงแรม โดยมีงบประมาณ 35,000,000 บาท (โดยคิดเป็นอัตราก้าวหน้า)
อาคารประเภทโรงแรม จะคิดค่าแบบตามอาคารในประเภทที่ 4 เป็นขั้นๆ ดังนี้
10 ล้านบาทแรก คิด 6.50 % = 650,000 บาท
20 ล้านบาทถัดไป คิด 5.50 % = 1,100,000 บาท
5 ล้านที่เหลือ คิด 4.75 % = 237,000 บาท
รวมค่าบริการทั้งสิ้น = 1,987,500 บาท
นอกจากนี้ ยังมีงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพิ่มเติม เช่นการต่อเติม ดัดแปลงอาคาร หรือทำซ้ำ กำหนดให้คิดค่าแบบดังนี้ค่ะ
กรณีงานก่อสร้างต่อเติม
ได้แก่ การออกแบบงานก่อสร้างต่อเติมอาคารเดิมที่มีอยู่แล้ว และจำเป็นต้องแก้ไขระบบโครงสร้าง หรือการใช้สอยของอาคารเดิมบางส่วน ให้คิดค่าแบบหรือค่าบริการวิชาชีพเท่ากับ 1.2 เท่าของมูลค่าตามวิธีคิดข้างต้น
(คิดค่าแบบในอัตราปกติแล้วคูณด้วย 1.2)
กรณีงานก่อสร้างดัดแปลง
ได้แก่ การดัดแปลงแก้ไขประโยชน์ใช้สอยภายในอาคารเดิมที่มีอยู่แล้ว จะโดยแก้ไขเพิ่มเติมระบบโครงสร้างหรือไม่ก็ตาม ให้คิดค่าแบบเท่ากับ 1.4 เท่าของมูลค่าตามวิธีคิดข้างต้น
กรณีงานก่อสร้างที่แบบซ้ำกัน
ได้แก่ การก่อสร้างในบริเวณเดียวกันโดยไม่ต้องเขียนแบบใหม่ อาจเป็นบ้านจัดสรร กลุ่มอาคารโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม กลุ่มอาคารคอนโดมิเนียม หรืออาคารที่ทำซ้ำๆ กันให้คิดค่าแบบดังนี้ค่ะ
- หลังที่ 1 คิดค่าแบบ 100% ของค่าแบบตามวิธีคิดข้างต้น
- หลังที่ 2 คิดค่าแบบ 50% ของค่าแบบตามวิธีคิดข้างต้น
- หลังที่ 3 ถึงหลังที่ 5 คิดค่าแบบ 25% ของค่าแบบตามวิธีคิดข้างต้น
- หลังที่ 6 ถึงหลังที่ 10 คิดค่าแบบ 20% ของค่าแบบตามวิธีคิดข้างต้น
- หลังที่ 11 ขึ้นไป คิดค่าแบบ 15% ของค่าแบบตามวิธีคิดข้างต้น
เมื่อเห็นตัวเลขค่าออกแบบของสถาปนิกแล้วก็ไม่ต้องตกใจไปนะคะ ว่าจะต้องจ่ายครั้งเดียวหมดเลย เพราะสถานปนิกจะเบิกค่าบริการวิชาชีพจากเราเป็นงวด ๆ จำนวนทั้งหมด 5 งวด ตามเนื้องานที่ส่งมอบให้ลูกค้า ดังนี้ค่ะ
งวดที่ 1 อัตราร้อยละ 5 ของค่าบริการวิชาชีพ เมื่อสถาปนิกตกลงเข้าทำงาน
งวดที่ 2 อัตราร้อยละ 20 ของค่าบริการวิชาชีพ เมื่อสถาปนิกส่งมอบเอกสารการวางเค้าโครงการออกแบบและการออกแบบร่างขั้นต้นแล้วเสร็จ
งวดที่ 3 อัตราร้อยละ 20 ของค่าบริการวิชาชีพ เมื่อสถาปนิกส่งมอบเอกสารแบบร่างขั้นสุดท้ายแล้วเสร็จ
งวดที่ 4 อัตราร้อยละ 40 ของค่าบริการวิชาชีพ ระหว่างดำเนินการออกแบบรายละเอียด โดยสถาปนิกจะเบิกเป็นงวด ๆ ตามที่ตกลงกัน
งวดที่ 5 อัตราร้อยละ 15 ของค่าบริการวิชาชีพ ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง โดยสถาปนิกจะเบิกเป็นงวด ๆ ตามที่ตกลงกัน
รายละเอียดขอบเขตงานและการส่งมอบงานของสถาปนิก มีดังนี้ค่ะ
- แบบยื่นขออนุมัต 5 ชุด
- แบบก่อสร้าง 2 ชุด
- ภาพ 3 D 1 View
- รายการคำนวณโครงสร้าง 1 ชุด ตามตกลง
- รายการบัญชีแสดงปริมาณ O.Q. (Bill of Quantities) 1 ชุด
- เอกสารใบประกอบวิชาชีพสถาปนิก 1 ชุด
- หนังสือรับรองงานออกแบบโดยสถาปนิก 1 ชุด
- เอกสารใบประกอบวิชาชีพวิศวกร 1 ชุด
- หนังสือรับรองงานออกแบบโดยวิศวกร 1 ชุด
- งานควบคุมงานก่อสร้าง/รับรองคุมงาน (ผู้รับเหมาเป็นผู้จัดหาผู้ควบคุมงานภายหลัง)
- CD-ROM บันทึกรายละเอียดงาน 1 ชุด
- บริการยื่นขออนุญาตหน่วยงานราชการ ตามตกลง
เนื้อหาที่นำมาแบ่งปันนี้เป็นข้อมูลที่ใช้เป็นมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติร่วมกันระหว่างเจ้าของโครงการและสถาปนิกโดยส่วนใหญ่ แต่ไม่ใช่กฎหมายหรือข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตามนะคะ ลูกค้าและสถาปนิกอาจต่อรองราคาที่สมเหตุสมผลตามลักษณะเนื้องานที่ต่างไปจากนี้ได้ค่ะ
อ่านมาถึงตรงนี้ ฉันเชื่อว่าหลายท่านคงจะเกิดความสงสัยขึ้นในใจอยู่บ้าง ว่าขอบเขตงานของสถาปนิกนั้นครอบคลุมถึงค่าวิชาชีพของวิศวกรด้วย แล้วสถาปนิกมีสัดส่วนการแบ่งค่าบริการให้กับวิศวรอย่าง ไร ฉันก็ไปหาคำตอบมาไว้ให้คุณแล้วเช่นกันค่ะ
สัดส่วนการแบ่งค่าบริการออกแบบระหว่างสถาปนิกและวิศวกร ตามมาตรฐานของ สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กำหนดการคิดค่าออกแบบไว้ ดังต่อไปนี้

เมื่อสถาปนิกรับเงินจากลูกค้าเจ้าของโครงการแล้ว สามารถหักค่าใช้จ่ายด้านค่าประสานงาน ไม่เกิน 10% และค่าใช้จ่ายพิเศษอื่นๆ ไม่เกิน 15% ออกก่อนได้ค่ะ เมื่อหักจ่ายเบื้องต้นแล้ว จะมีการแบ่งสัดส่วนระหว่างสถาปนิกและวิศวกร โดยแยกตามประเภทของโครงการ เป็น 4 ประเภท ดังนี้
อัตราการคิดค่าบริการจากส่วนต่างๆ
- บริษัทสถาปนิกเอกชน ทั่วไปแล้วจะอ้างอิงการคิดค่าบริการออกแบบตามมาตรฐานของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 5-10% ของราคาก่อสร้าง ใช้เวลาออกแบบและเขียนแบบพิมพ์เขียวประมาณ 3-4 เดือน
- สถาปนิกอิสระ ค่าบริการจะใกล้เคียงตามมาตรฐานของสมาคมสถาปนิกสยามฯ แต่การปรับราคานั้นจะอ้างอิงเพิ่มเติมจากประสบการณ์หรือปริมาณงาน ซึ่งจะอยู่ระหว่าง 5-7.5% ของราคาก่อสร้าง ใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายโยธาของสำนักงานเขต คิดค่าบริการแบบเหมาจ่ายหรือต่ำกว่ามาตรฐานของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ที่ประมาณ 2-5% ของราค่าก่อสร้าง
- แบบพิมพ์เขียวสำเร็จรูป เป็นแบบที่บริษัทสถาปนิกเอกชนเขียนไว้แล้ว มักจะมีราคาต่ำกว่าแบบอาคารที่เขียนขึ้นมาใหม่ และอาจจะมีข้อจำกัดที่ไม่ตรงความต้องการของผู้ประกอบการทั้ง 100% แต่ข้อดีคือสามารถนำไปใช้งานได้ทันที
ปัจจุบันมีการกำหนดค่าจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างใช้ตาม “กฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าจ้างผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง พ.ศ. 2560” ซึ่งให้ไว้ ณ วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2560 และคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติร่างกฎกระทรวงใหม่ในเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2561
สามารถดูรายละเอียดและศึกษาเพิ่มเติม
เรื่อง กฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าจ้างผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง พ.ศ. 2560 คลิ๊ก…
หลายท่านคงหายสงสัยกันแล้วนะคะว่าค่าบริการออกแบบของสถาปนิกและค่าวิชาชีพของวิศวกรเขาคิดและคำนวณกันอย่างไร หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านที่กำลังจะลงทุนในธุรกิจโรงแรม-รีสอร์ทขนาดเล็ก และเจ้าของโรงแรม-รีสอร์ทขนาดเล็กที่ใช้อาคารประเภทอื่นมาดัดแปลงเป็นโรงแรมและต้องดำเนินการแก้ไขอาคารให้ถูกต้องก่อนขออนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมได้มีข้อมูลเพื่อคำนวณตัวเลขค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ แต่สิ่งที่ฉันอยากเอาฝากไว้ คืออย่าเลือกใช้บริการของสถาปนิกเพียงเพราะต้องการค่าแบบถูกเพียงอย่างเดียวนะคะ คุณควรเน้นพิจารณาจากคุณภาพงานและผลลัพธ์ของงานที่จะได้รับเป็นประเด็นหลักที่ใช้ในการตัดสินใจค่ะ
ขอบคุณเนื้อหาจาก SCG และ www.terrabkk.com
คู่มือสถาปนิก พ.ศ.2547
“เราเชื่อว่าการแบ่งปันความรู้ คือพลังที่ยิ่งใหญ่”
ขอให้ทุกท่านจงสร้างธุรกิจโรงแรมที่ดี มีคุณภาพเพื่อช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวให้กับประเทศไทยของเรา
หากคุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้ ฝากกดไลค์ กดแชร์ และบอกต่อด้วยนะคะ
มาร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันกับหลักสูตร เจ้าของโรงแรม-รีสอร์ทขนาดเล็ก ใคร ๆ ก็เป็นได้
คอร์สอบรมที่ช่วยให้คุณเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมได้ ภายใน 2 วัน
หนังสือที่คนอยากทำธุรกิจโรงแรมต้องอ่าน!!!
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
มาเป็นเพื่อนกับเราทางไลน์!!!
ถ้าไม่อยากพลาดข่าวสารและบทความดีๆ