
สำหรับคนทำธุรกิจโรงแรมในตอนนี้ ไม่ได้มีแต่เรื่องของใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมเท่านั้นนะคะที่ต้องรีบดำเนินการให้เรียบร้อย ยังมีอีกเรื่องที่จะต้องจัดทำและสำคัญมากด้วยค่ะ นั่นคือการจัดทำบัตรทะเบียนผู้พัก (แบบ ร.ร.๓)และทะเบียนผู้พักตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547
เรื่อง บัตรทะเบียนผู้พักและทะเบียนผู้พักโรงแรม นี้ได้เคยเขียนเป็นบทความไว้ให้อ่านเมื่อนานมากแล้วนะคะ และได้รวบรวมเนื้อหาไว้ใน “หนังสือ เจ้าของโรงแรม-รีสอร์ทขนาดเล็ก ใคร ๆก็เป็นได้ “ สำหรับท่านที่ติดตามเว็บไซต์มานานและมีหนังสือของเราคงจะได้รับข้อมูลไปแล้ว
แสดงเนื้อหาเพิ่ม คลิกที่นี่
แต่ที่ได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ก็เนื่องจากว่าเมื่อวานได้ไปพบกับท่านปลัดอำเภอเพื่อดำเนินเรื่องขอเป็นผู้จัดการโรงแรม ตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547 ความจริงแล้วฉันได้ดำเนินเรื่องขอเป็นผู้จัดการโรงแรมไปพร้อมกับการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมแล้วค่ะ แต่ว่าเอกสารตกหล่นหรือด้วยติดขัดด้วยเหตุผลใดไม่ทราบจึงต้องไปดำเนินการเรื่องของการแจ้งเป็นผู้จัดการโรงแรมใหม่ แต่เรื่องราวยังไม่เสร็จนะคะยังมีอีกหลายขั้นตอนเดี่ยวจะนำมาแบ่งปันในบทความต่อไปค่ะ
เมื่อได้เจอกับท่านปลัดอำเภอ ท่านก็แจ้งข่าวว่ามีหนังสือแผนการตรวจโรงแรมในพื้นที่มาจากนายทะเบียนซึ่งก็คือผู้ว่าราชการจังหวัด ให้เจ้าหน้าที่ออกตรวจโรงแรมในพื้นที่เพื่อควบคุมผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมให้ปฏิบัติตามกฎหมายและป้องกันการกระทำที่อาจเป็นความผิดตามกฎหมายในสถานที่ประกอบธุรกิจโรงแรม ซึ่งการตรวจสอบโรงแรมนี้จะมีประมาณปีละ 1 ครั้ง ซึ่งเรื่องที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเข้ามาตรวจสอบ เช่น ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม ใบแจ้งการเป็นผู้จัดการ บัตรทะเบียนผู้พัก (ร.ร.๓) และทะเบียนผู้พัก (ร.ร.๔) ท่านปลัดอำเภอได้เน้นย้ำมากเรื่องของบัตรทะเบียนผู้พักและทะเบียนผู้พัก ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามจะได้รับโทษทางปกครองและหนักสุดถึงขั้นยึดใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม วันนี้ฉันจึงนำเรื่องของ ร.ร.๓ และ ร.ร.๔ มาแบ่งปันให้อ่านกันค่ะ
บัตรทะเบียนผู้พัก
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดบัตรทะเบียนผู้พักและทะเบียนผู้พักตามพระราชบัญญัติโรงแรม
พ.ศ. 2547 กำหนดให้บัตรทะเบียนผู้พัก ให้ใช้กระดาษแข็งสีขาว ขนาดกว้างไม่เกิน 220 มิลลิเมตร
ความยาวไม่เกิน 297 มิลลิเมตร และมีรายการตามแบบ ร.ร. ๓ ท้ายประกาศนี้ ข้อความในรายการนั้น
จะพิมพ์เป็นภาษาต่างประเทศกำกับไว้ใต้ตัวอักษรภาษาไทยด้วยก็ได้
ตัวอย่างบัตรทะเบียนผู้พัก

ตัวอย่างทะเบียนผู้พัก

ตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 กำหนดให้ผู้จัดการโรงแรมต้องตัดให้มีการบันทึกรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้พักและจำนวนผู้พักในแต่ละห้องลงในบัตรทะเบียนผู้พักในทันทีที่มีการเข้าพัก และนำไปลันทึกลงในทะเบียนผู้พักให้แล้วเสร็๗ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากมีการลงทะเบียนเข้าพัก
รวมทั้งต้องเก็บรักษาบัตรทะเบียนผู้พักและทะเบียนผู้พักไว้อย่างน้อย 1 ปี และต้องให้อยู่ในสภาพตรวจสอบได้ และต้องนำส่วสำเนาทะเบียนผู้พักในแต่ละวันไปให้นายทะเบียนทุกสัปดาห์ ในกรณีที่ทะเบียนผู้พักที่เก็บรักษาไว้ในโรงแรมสูญหายหรือถูกทำลาย ผู้จัดการโรงแรมต้องดำเนินการขอคัดลอกสำเนาทะเบียนผู้พักนั้นจากนายทะเบียนมาเก็บรักษาไว้แทน
เหตุผลในการจัดทำทะเบีนผู้พัก (ร.ร.๓) และทะเบียนผู้พัก (ร.ร.๔)ให้ถูกต้องนั้นก็เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลใดหลบซ่อนหรือมั่วสุมในเขตโรงแรมในลักษณะที่จะก่อความไม่สงบเกิดขึ้นในบ้านเมือง หรือทำความผิดอาญาขึ้นในโรงแรมค่ะ
หากผู้จัดการโรงแรมไม่ปฏิบัติตามนี้ก็จะมีความผิดตามมาตรา 56 มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 – 100,000 บาท แล้วแต่กรณี แต่ถ้าหากลงข้อมูลเท็จในบัตรทะเบียนผู้พัก หรือทะเบียนผู้พักจะมีความผิดตามมาตรา 61 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกิน 1,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
เมื่อรู้ว่าแบบ ร.ร.๓ และแบบ ร.ร.๔ สำคัญขนาดนี้ก็อย่าละเลยกันนะคะ เพราะโทษหนักจริง ๆ ทั้งจำทั้งปรับและอาจจะโดนยึดใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมที่เรากว่าจะขอมาได้ก็ยากเย็นแสนเข็นมาก ๆ แล้วค่ะ

“คุณสามารถเปลี่ยนตัวเองจากคนธรรมดาให้กลายเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้ แค่เพียงมีความรู้ มีแรงบันดาลใจ และมีความสุข ฉันอยู่ที่นี่เพื่อจะแบ่งปันสิ่งเหล่านี้ให้กับคุณค่ะ”
มาร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันกับหลักสูตร เจ้าของโรงแรม-รีสอร์ทขนาดเล็ก ใคร ๆ ก็เป็นได้
คอร์สอบรมที่ช่วยให้คุณเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมได้ ภายใน 2 วัน
หนังสือที่คนอยากทำธุรกิจโรงแรมต้องอ่าน!!!
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
มาเป็นเพื่อนกับเราทางไลน์!!!
ถ้าไม่อยากพลาดข่าวสารและบทความดีๆ