
ธุรกิจโรงแรมที่พักนั้นเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงใน 1 วันและ 365 วันใน 1 ปี ดังนั้นจึงต้องมีพนักงานอยู่ทำงานตลอดเวลาเพื่อคอยให้บริการลูกค้าที่เข้ามาพักในโรงแรม แล้วคุณจะจ่ายค่าจ้างแรงงานให้กับลูกจ้างของโรงแรมยังไง เพื่อไม่ให้ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานและมีความยุติธรรมต่อลูกจ้างด้วยค่ะ
คลิกอ่านต่อ ที่นี่
ฉันเชื่อว่าคนธรรมดาก็สามารถเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนและมีความสุขได้ ด้วยสูตร (ความรู้ + แรงบันดาลใจ + ความรัก) x ความสุข เพราะความสุข คือสิ่งที่มนุษย์ต้องการมากที่สุด มันมีพลังที่จะช่วยคุณขับเคลื่อนทุกอย่างไปสู่ความสำเร็จตามที่ใจปรารถนา และสูตรนี้คือการแบ่งปันความรู้สำหรับคนที่อยากสร้างธุรกิจโรงแรมของตนเองให้ประสบความสำเร็จตามแนวทางของ A-LISA.NET
ธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่น ๆ การจ่ายค่าจ้างในการทำงานในเวลาปกติ การมีวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดตามประเพณีประจำปีนั้นกฎหมายคุ้มครองแรงก็ได้ชี้แจงสิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างและนายจ้างเอาไว้อย่างละเอียดชัดเจนแล้ว แต่ธุรกิจโรงแรมนั้นกลับต่างออกไปบ้างค่ะ เพราะรูปแบบของธุรกิจโรงแรมจะต้องเปิดให้บริการตลอด 24 ขั่วโมง/วัน และ 365 วันใน 1 ปี ยิ่งวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดตามประเพณีนั้นยิ่งต้องขยันขันแข็งเป็นพิเศษเพราะเป็นช่วงเวลาที่มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการและเข้าพักในโรงแรมมากกว่าปกติ ดังนั้น เมื่อรูปแบบธุรกิจของโรงแรมเป็นเช่นนี้ เจ้าของโรงแรมบางท่านก็อาจจะสงสัยว่า ในฐานะของนายจ้างเราจะต้องจ่ายค่าแรงให้กับลูกจ้างยังไงเพื่อให้ค่าแรงนั้นเป็นไปอย่างยุติธรรมและไม่ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนายจ้างและลูกจ้างนั้น กำหนดให้นายต้างต้องจ่ายค่าจ้างหรือสินจ้างตามตกลงเพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้าง และนายจ้างต้องปฏิบัติตามสิทธิประโยชน์และสวัสดิการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายแรงงานได้กำหนดไว้ โดยกฎหมายแรงงานไม่ได้บังคับว่าการจ้างงานต้องทำเป็นหนังสือ แต่อาจตกลงด้วยวาจาก็ได้ และลักษณะการจ้างงานอาจจ้างเป็น รายเดือน รายวัน รายชั่วโมงก็ได้ โดยไม่มีคำว่า “ลูกจ้างชั่วคราว” หรือ “ลูกจ้างประจำ” แต่กฎหมายใช้คำว่า “ลูกจ้าง” เท่านั้น ซึ่งกล่าวได้ว่าลูกจ้างทุกประเภทก็ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานเช่นเดียวกัน
หน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างในโรงแรม
หน้าที่ของนายจ้าง
- นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้
- ต้องออกใบแสดงการทำงานเมื่อการจ้างงานสิ้นสุด โดยในใบแสดงการทำงานต้องระบุถึงระยะเวลาการทำงาน ลักษณะงานของลูกจ้าง ไม่ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาก่อนและไม่ว่าลูกจ้างจะออกจากงานด้วยสาเหตุใดก็ตาม
- หากนายจ้างต้องการบอกเลิกสัญญาหรือเลิกจ้าง นายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้าง เว้นแต่ในสัญญาจ้างนั้นได้กำหนดระยะเวลาจ้างไว้แน่นอนแล้ว
*** หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามหน้าท่ีดังกล่าว ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าสินไหมทดแทนหากเกิดความเสียหายจากการกระทำของนายจ้างได้
หน้าที่ของลูกจ้าง
- ต้องทำงานด้วยตนเอง หากนายจ้างไม่ให้ความยินยอมจะให้บุคคลอื่นทำงานแทนไม่ได้
- ต้องทำงานตามฝีมือที่ได้รับรองไว้กับนายจ้าง
- ต้องไม่ขาดงานโดยไม่มีเหตุผลสมควร
- ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้นายจ้างทราบก่อนวันที่ตนจะลาออกจากงาน
- ต้องไม่ขัดคำสั่งอัญชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง
- ต้องไม่ละเลยคำสั่งของนายจ้าง ไม่ละทิ้งงานและไม่กระทำความผิดร้ายแรง
เวลาทำงานปกติ
เวลาทำงานปกติโดยทั่วไป ไม่เกิน 8 ชั่วโมง/วัน และต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์ (6วัน/สัปดาห์) ส่วนเวลาเร่ิมงานและเวลาเลิกงาน ขึ้นอยู่กับนายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
เวลาพัก
- ระหว่างการทำงานปกติ ไม่น้อยกว่า 1 ชม./วัน หลังจากลูกจ้างทำงานมาแล้วไม่เกิน 5 ชม. ติดต่อกันหรืออาจตกลงกันพักเป็นช่วงๆ ก็ได้แต่รวมแล้วต้องไม่น้อยกว่า 1 ชม./วัน
- ก่อนการทำงานล่วงเวลา กรณีให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า 2 ชม. ต้องจัดให้ลูกจ้างพักก่อนเริ่มทำงานล่วงเวลาไม่น้อยกว่า 20 นาที
วันหยุด
ลูกจ้างต้องมีวันหยุดอย่างน้อย 1วัน/สัปดาห์ มีวันหยุดตามประเพณีอย่างน้อย 13วัน/ปี และหยุดพักร้อนประจำปีได้อย่างน้อย 6 วันทำงาน/ปี
ในกรณีของพนักงานโรงแรม นายจ้างกับลูกจ้างอาจตกลงกันสะสมและเลื่อนวันหยุดประจำสัปดาห์ไปหยุดเมื่อใดก็ได้ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน
เวลาทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด
การทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุดต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน สำหรับธุรกิจโรงแรมได้รับการยกเว้น ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน
ชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุดและการทำงานล่วงเวลาในวันหยุดรวมกันแล้ว ต้องไม่เกิน 36 ชั่วโมง/สัปดาห์
ค่าตอบแทนในการทำงาน
1.ค่าจ้างปกติ
ค่าจ้างค่าแรงขึ้นต่ำ พ.ศ.2566 อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 11) เริ่มใช้บังคับตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 แบ่งค่าจ้างขั้นต่ำออกตามพื้นที่ 77 จังหวัด ดังนี้
- ค่าแรงขั้นต่ำ จังหวัดชลบุรี ระยอง และภูเก็ต อยู่ที่วันละ 354 บาท
- ค่าแรงขั้นต่ำ กทม. นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร อยู่ที่วันละ 353 บาท
- ค่าแรงขั้นต่ำ จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ที่วันละ 345 บาท
- ค่าแรงขั้นต่ำ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ที่วันละ 343 บาท
- ค่าแรงขั้นต่ำ จังหวัดกระบี่ ของแก่น เชียงใหม่ ตราด นครราชสีมา ปราจีนบุรี พังงา ลพบุรี สงขลา สระบุรี สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี หนองคาย อุบลราชธานี อยู่ที่วันละ 340 บาท
- ค่าแรงขั้นต่ำ จังหวัดกาฬสินธุ์ จันทบุรี นครนายก มุกดาหาร สกลนคร สมุทรสงคราม อยู่ที่วันละ 338 บาท
- ค่าแรงขั้นต่ำ จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท นครพนม นครสวรรค์ บึงกาฬ บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พะเยา พัทลุง พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ยโสธร ร้องเอ็ด เลย สระแก้ว สุรินทร์ อ่างทอง อุตรดิตถ์ อยู่ที่วันละ 335 บาท
- ค่าแรงขั้นต่ำ จังหวัดกำแพงเพชร ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย ตรัง ตาม นครศรีธรรมราช พิจิตร แพร่ มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ระนอง ราชบุรี ลำปาง ลำพูน ศรีสะเกษ สตูล สิงห์บุรี สุโขทัย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุทัยธานี อยู่ที่วันละ 332 บาท
- ค่าแรงขั้นต่ำ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส น่าน อุดรธานี อยู่ที่วันละ 328 บาท
*** ค่าจ้างต้องจ่ายเป็นเงินสดเท่านั้นและต้องจ่ายให้กับลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
2. ค่าจ้างในวันหยุด
การจ่ายค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดพักผ่อนประจำปี (พักร้อน) ให้กับลูกจ้างที่รับค่าจ้างเป็นรายเดือนเท่านั้น ส่วนลูกจ้าจงรายวัน รายชั่วโมงหรือตามผลงานไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดดังกล่าว
3. ค่าจ้างในวันลา
- จ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยไม่เกิน 30 วันทำงาน/ปี
- จ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อทำหมันและจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อรับราชการทหารไม่เกิน 60 วัน/ปี
- จ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตรไม่เกิน 45 วัน/ครรภ์
ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
1.ถ้าทำงานเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่า 1.5 เท่า ของอัตราค่าจ้าง/ชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่า 1.5 เท่า ของอัตราค่าจ้าง/หน่วย ในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน
2.ถ้าทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตรา 3 เท่าของอัตราค่าจ้าง/ชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
3.ถ้าทำงานในวันหยุดในเวลาทำงานปกติ นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของค่าจ้าง ในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด หรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้
สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย และสำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของค่าจ้างในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุดหรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
ค่าชดเชย
ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ดังนี้
- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
- ลูกจ้างลาออกเอง
- ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
- จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
- ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
- ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน ซึ่งหนังสือเตือนนั้นให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
- ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร
- ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
- กรณีการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และนายจ้างเลิกจ้าง ตามกำหนดระยะเวลานั้น ได้แก่งานดังนี้
1. การจ้างงานในโครงการ เฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือ การค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน
2. งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว ที่มีกำหนดงานสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน
3. งานที่เป็นไปตามฤดูกาล และได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้นซึ่งจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี โดยนายจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง
นายจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างให้ถูกต้องตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานได้กำหนดไว้ หากฝ่าฝืนจะมีความผิดอาญา มีอัตราโทษสูงสุดคือจำคุกไม่เกิน 1 ปีและและไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นความผิดที่เปรียบเทียบปรับได้โดยผู้มีอำนาจเปรียบเทียบ ได้แก่ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผู้มีหน้าที่เปรียบเทียบปรับคือ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ส่วนในพื้นที่ต่างจังหวัด ผู้มีหน้าที่เปรียบเทียบปรับคือ ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย
เครดิตข้อมูลจาก : เว็บไซต์กระทรวงแรงงาน https://lb.mol.go.th/
การทำธุรกิจโรงแรมนั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายในเรื่องของกฎหมาย การจ่ายค่าจ้างแรงงานและสิทธิหน้าที่ของนายจ้างกับลูกจ้างในโรงแรมก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญที่คุณจะต้องศึกษา เรียนรู้ และตรวจสอบข้อกฎหมายให้ละเอียดรอบคอบนะคะ เพื่อจะได้ไม่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นกับคุณในอนาคตค่ะ
และนี่เป็นความรู้กับแรงบันดาลใจที่ฉันนำมาแบ่งปันให้กับคุณค่ะ ส่วนความรักและความสุขคุณต้องเติมใส่ลงไปเอง
“คุณสามารถเปลี่ยนตัวเองจากคนธรรมดาให้กลายเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้ แค่เพียงมีความรู้ มีแรงบันดาลใจ และมีความสุข ฉันอยู่ที่นี่เพื่อจะแบ่งปันสิ่งเหล่านี้ให้กับคุณค่ะ”
มาร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันกับหลักสูตร เจ้าของโรงแรม-รีสอร์ทขนาดเล็ก ใคร ๆ ก็เป็นได้
คอร์สอบรมที่ช่วยให้คุณเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมได้ ภายใน 2 วัน
หนังสือที่คนอยากทำธุรกิจโรงแรมต้องอ่าน!!!
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
มาเป็นเพื่อนกับเราทางไลน์!!!
ถ้าไม่อยากพลาดข่าวสารและบทความดีๆ