
เมื่อคุณทำธุรกิจโรงแรมสิ่งที่คุณต้องทำควบคู่ไปด้วยก็คือการจัดทำบัญชีและงบการเงิน โดยการจัดทำบัญชีที่เป็นระบบนั้น ก็จะมีแบบฟอร์มงบการเงินมาตรฐานที่ใช้บันทึกสถานะทางการเงินแบบสากลเพื่อหาความสัมพันธ์ของทรัพย์สินของธุรกิจนั้นค่ะ แต่ก่อนที่คุณจะเข้าสู่การบันทึกบัญชีในงบการเงินของธุรกิจโรงแรม สำหรับคนที่ไม่มีความรู้พื้นฐานด้านบัญชีมาก่อน รายการแสดงสถานะทางการเงินเหล่านี้คือสิ่งที่คุณต้องรู้ค่ะ
คลิกอ่านต่อ ที่นี่
ฉันเชื่อว่าคนธรรมดาก็สามารถเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนและมีความสุขได้ ด้วยสูตร (ความรู้ + แรงบันดาลใจ + ความรัก) x ความสุข เพราะความสุข คือสิ่งที่มนุษย์ต้องการมากที่สุด มันมีพลังที่จะช่วยคุณขับเคลื่อนทุกอย่างไปสู่ความสำเร็จตามที่ใจปรารถนา และสูตรนี้คือการแบ่งปันความรู้สำหรับคนที่อยากสร้างธุรกิจโรงแรมของตนเองให้ประสบความสำเร็จตามแนวทางของ A-LISA.NET
การบันทึกบัญชีนี้ ถ้าคนที่มีความรู้พื้นฐานทางบัญชีมาก่อนอาจจะไม่ใช่เรื่องยากค่ะ แต่ในบทความนี้เราจะมาตีแตกเรื่องของรายการสถานะทางการเงินของธุรกิจโรงแรมและแบบฟอร์มการจัดทำงบการเงินกันค่ะ ถ้าคุณไม่มีความรู้เรื่องบัญชีมาก่อนแต่จับพลัดจับผลูมาเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กก็สามารถเข้าใจรายการสถานะทางการเงิน และนำรายการสถานะทางการเงินมาบันทึกบัญชีของโรงแรมได้อย่างมืออาชีพ
รายการแสดงสถานะทางการเงินของโรงแรมขนาดเล็ก
ประกอบด้วย
รายรับ-รายจ่าย (Income and Expenses)
รายรับ (Income) ของธุรกิจโรงแรมมีที่มา 3 ประการ ดังนี้
- รายได้ห้องพัก (Room Revenue) เป็นรายรับจากการขายห้องพักให้แขกและเป็นรายได้หลักของธุรกิจโรงแรม
- รายได้จากค่าอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Income) เป็นรายรับจากการขายอาหารและเครื่องดื่มให้แขกในโรงแรม รายได้ประเภทนี้เกิดขึ้นเฉพาะกับโรงแรมที่มีบริการอาหารและเครื่องดื่มเท่านั้น คือเป็นโรงแรมประเภท 2 ขึ้นไปค่ะ
- รายได้อื่น ๆ (Other Income) เป็นรายได้ที่เกิดจากการขายสินค้าหรือบริการให้แก่แขกที่เข้าพักในโรงแรม เช่น ค่าซักรีดเสื้อผ้า ค่ามินิบาร์ หรือบริการด้านอินเตอร์เน็ต เป็นต้น รายได้ดังกล่าวนี้เกิดจากหน่วยงานอื่นของโรงแรมไม่ใช่ค่าห้องพักหรือห้องอาหาร จึงเรียกหน่วยงานดังกล่าวว่า Minor Operated Department : MOD
รายจ่าย (Expenses) เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการดำเนินธุรกิจ แบ่งได้เป็นประเภทต่าง ๆ ได้ 3 ประการ ดังนี้
- ต้นทุนวัตถุดิบ (Material Cost) เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อจัดซื้อวัตถุดิบในการผลิตสินค้า ซึ่งถ้าเป็นธุรกิจโรงแรมจะหมายถึงค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อวัตถุดิบอาหารและเครื่องดื่มเพื่อนำมาประกอบอาหารบริการแขก วัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหารจะกลายเป็นต้นทุนอาหาร (Food Cost) ซึ่งเรียกในทางบัญชีว่า ต้นทุนขาย (Cost of Sales) แต่ในการขายห้องพักจะไม่ปรากฎต้นทุนในการขายห้องพัก เพราะในการคำนวณราคาห้องพักนั้นได้นำเอาต้นทุนและค่าใช้จ่ายทุกประเภทมาเป็นองค์ประกอบในการคำนวณอัตราห้องพักอยู่แล้ว
- ต้นทุนแรงงาน (Labour Cost) เป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานตลอดจนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน เช่น ค่าเครื่องแบบพนักงาน ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล ค่าประกันสังคม เป็นต้น ค่าใช้จ่ายหลักของต้นทุนแรงงานคือค่าจ้างและเงินเดือนของพนักงาน สำหรับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามที่ยกตัวอย่างถือว่าเป็นสิทธิประโยชน์ของพนักงาน
- ต้นทุนการดำเนินงาน (Operating Cost) เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้เพื่อให้ธุรกิจดำเนินการได้ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าขนส่ง ค่าโฆษาประชาสัมพันธ์ ค่าเสื่อมราคา และค่าดอกเบี้ยเงินกู้กรณีที่กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินตลอดจนค่าประกันภัยต่าง ๆ
สินทรัยพ์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ
ในการลงทุนทำธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กนั้น อันดับแรกคือการหาแหล่งเงินทุนเพื่อจัดซื้อสินทรัพย์ของโรงแรม การลงทุนดังกล่าวนี้ได้แก่ จัดซื้อที่ดิน ก่อสร้างอาคาร จัดหารอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ตลอดจนเฟอร์นิเจอร์เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งเรียกรวมกันว่า สินค้าทุน (Capital) เมื่อซื้อมาแล้วสินค้าทุนเหล่านี้จะถือเป็นสมบัติที่โรงแรมครอบครอง เรียกว่า สินทรัพย์ (Asset) และสินทรัพย์เหล่านี้จะต้องบันทึกบัญชีเอาไว้
ประเภทของสินทรัพย์โรงแรมขนาดเล็ก
- สินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset) เป็นสินทรัพย์ที่โรงแรมได้จัดหารมาแล้ว มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เช่น อาคาร อุปกรณ์เครื่องใช้ อุปรณ์บริการ เฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์ครัว สินทรัพย์เหล่านี้จะเปลี่ยนสภาพเป็นเงินสด(โดยการขาย) ได้ยาก
มูลค่าของสินทรัพย์เหล่านี้จะถูกหักเป็นค่าเสื่อม (Depreciation) ซึ่งกลายเป็นค่าเสื่อมราคาจนกว่ามูลค่าจะหมดไป เช่น เครื่องซักผ้าของโรงแรมที่จัดซื้อมามีมูลค่าเครื่องละ 100,000 บาท ถ้าต้องการใช้ให้ถึง 10 ปี โรงแรมจะต้องตัดค่าเสื่อมราคาปีละ 10,000 บาท (10,000 x 10 ) ให้เป็นต้นทุนคงที่
1. สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) เป็นทรัพย์สินของโรงแรมที่มีอายุการใช้งานน้อยกว่า 1 ปี หรือจะเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย เช่น เงินสดในธนาคาร และสินค้าคงคลัง เช่น วัตถุดิบอาหารหรือของใช้อื่น ๆ ที่เก็บไว้ในคลังที่นำออกขาย
2. สินทรัพย์อื่น ๆ (Other Asset) เป็นทรัพย์สินที่ไม่สามารถชี้วัดได้ว่าเป็นสินทรัพย์ถาวรหรือสินทรัพย์หมุนเวียน เช่น ค่าใช้จ่ายในการเปิดดำเนินการ (Preopening Expenses) เป็นต้น
หนี้สิน (Liability) เป็นหนี้สินที่โรงแรมได้ก่อขึ้น หนี้สินมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่
1. หนี้สินหมุนเวียน ( Current Liability) เป็นหนี้สินระยะสั้นที่โรงแรมต้องใช้คืนในระยะเวลาที่เจ้าหนี้เรียกร้อง เช่น หนี้สินที่เกิดจากการซื้อวัตถุดิบมาเพื่อประกอบอาหารบริการแขก ผู้ขายหรือ Supplier จะเรียกร้องตามข้อตกลง ระยะเวลาในการจ่ายเงิน (Term of Payment) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้สินระยะสั้น อาจจะ 5 วัน 7 วันหรือไม่เกิน 1 เดือน เป็นต้น
2. หนี้สินระยะยาว ( Long-Term Liability) เป็นหนี้สินระยะยาวที่ธุรกิจโรงแรมสามารถจะตัดจ่ายหรือผ่อนส่งให้เจ้าหนี้อันเกิดจากการจำนองทรัพย์สินของโรงแรม ซึ่งผ่อนให้เป็นงวดระยะยาว (อาจถึง 10-20 ปี) หรือเป็นเงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารซึ่งต้องผ่อนชำระเป็นรายเดือน ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจนกว่าจะหมดหนี้
ส่วนของเจ้าของ (Equity or Net Worth) เป็นมูลค่าผลต่างระหว่างสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงิน อาจอยู่ในรูปของมูลค่าหุ้น(หรือหลักทรัพย์) ที่เจ้าของโรงแรมนำเงินส่วนต่างดังกล่าวไปลงทุน หรืออาจอยู่ในรูปของกำไรสะสม
สินทรัพย์ของโรงแรม = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ
จากสมการนี้ สามารถบอกสถานะการเงินของธุรกิจโรงแรมได้ว่า ถ้าหนี้สินมีมูลค่าน้อยจะทำให้ส่วนของเจ้าของมีมากขึ้น นั่นแสดงว่าโรงแรมแห่งนี้มีความมั่งคงทางการเงิน
เมื่อคุณรู้จัก รายรับ-รายจ่าย ของธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กและรู้จักสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของแล้วว่ามีอะไรบ้าง คุณก็สามารถนำรายการแสดงสถานะทางการเงินของโรงแรมเหล่านี้มาบันทึกบัญชีเพื่อแสดงความสัมพันธ์ทางการเงิน ซึ่งจะสามารถบ่งชี้ได้ว่าธุรกิจโรงแรมแห่งนี้มีกำไรหรือขาดทุน ในอนาคตจะอยู่รอดหรือไม่อย่างไร โดยมีลักษณะการบันทึกความสัมพันธ์ทางการเงิน 2 แบบ ดังนี้
งบการเงินของธุรกิจโรงแรมขนาดเล็ก
1. งบกำไรขาดทุน (Income Statement หรือ Profit and Loss Statement) เป็นการบันทึกเพื่อบ่งบอกฐานะด้านกำไรหรือขาดทุนของโรงแรม นิยมจัดทำในรอบ 1 เดือน หรือแสดงผลทุกสิ้นเดือน แต่ถ้ามีวิกฤต เช่น ต้นทุนสูงเกินเหตุอาจจะจัดทำในรอบสัปดาห์ก็ได้
แบบฟอร์มมาตรฐานสำหรับงบกำไรขาดทุน ของโรงแรมขนาดเล็ก
(ตัวอย่างแบบฟอร์มเปล่า)

2. งบแสดงสถานะการเงิน (Statement of Financial Information) ก่อนนี้นิยมเรียกว่างบดุล เป็นบันทึกบัญชีเพื่อบอกความอยุ่รอดของธุรกิจโรงแรม งบแสดงสถานะการเงินนี้นิยมทำในรอบ 1 ปี หรือแสดงผลทุกสิ้นเดือนธันวาคม แต่ถ้ามีเหตุวิกฤตอาจทำมากกว่าปีละ 1 ครั้งก็ได้เพื่อหาสาเหตุวิกฤติและแนวทางแก้ปัญหา
แบบฟอร์มมาตรฐานสำหรับบงแสดงสถานะการเงิน ของโรงแรมขนาดเล็ก
(ตัวอย่างแบบฟอร์มเปล่า)

การบันทึกบัญชีในงบกำไรขาดทุนและงบแสดงสถานะทางการเงินจะต้องอยู่ในรูปแบบของการบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษร และมีแบบฟอร์มที่เป็นมาตรฐานที่ถูกกำหนดไว้เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับให้หน่วยธุรกิจต้องจัดทำและสามารถเปิดเผยได้
ในการบันทึกทางบัญชีของธุรกิจโรงแรมทุกขนาดมีวิธีการบันทึกบัญชีที่เหมือนกัน แต่โรงแรมขนาดเล็กมีจำนวนห้องพักและแขกน้อยกว่า รูปแบบการบริการอาจน้อยกว่าโรงแรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ ดังนั้น จึงสรุปลักษณะเฉพาะของการบันทึกบัญชีโรงแรมขนาดเล็กได้ดังนี้
- มีรายการที่บันทึกบัญชีน้อยกว่าโรงแรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ และอาจจะไม่มีบางรายการที่โรงแรมขนาดกลางและขนาดใหญ่มี เช่น อาจจะไม่มีรายการสินค้าคงเหลือ เพราะเป็นโรงแรมขนาดเล็กทำธุรกิจในลักษณะซื้อมาขายไปไม่เก็บไว้ในสต๊อก ไม่มีรายการปรับปรุงรายได้ เพราะโรงแรมขนาดเล็กนิยมทำธุรกรรมเป็นเงินสดหรือในงบแสดงฐานะการเงินอาจไม่มีรายการหลักทรัพย์หรือรายการซื้อขายหุ้น เพราะเจ้าของนิยมนำกำไรไปฝากไว้กับธนาคารมากกว่า
- การจัดทำบันทึกทางการเงินของโรงแรมขนาดเล็ก อาจมีความถี่สูงกว่าโรงแรมขนาดกลางและขนาดใหญ่เพราะมีรายการน้อย การซื้อขายกระทำการในรูปแบบเงินสดซึ่งอำนวยให้ทำได้
- รายได้อื่น ๆ มีน้อย จึงมักรวมเป็นรายการ รายได้อื่น เพียงรายการเดียวในงบกำไรขาดทุน
- การแสดงกำไรเบื้องต้น (Gross Profit) ของโรงแรมขนาดเล็กจะแสดงเป็นผลการดำเนินงานของทั้งโรงแรม ไม่แยกเป็นแต่ละแผนกเหมือนเช่นโรงแรมขนาดกลางหรือขนาดใหญ่
และทั้งหมดนี้ก็เป็นพื้นฐานของการบันทึกบัญชีโรงแรมเบื้องต้น ที่ฉันนำมาแบ่งปันกับคุณค่ะ ฉันหวังว่าคุณผู้อ่านที่ไม่เคยเรียนวิชาบัญชีมาก่อนจะสามารถเข้าใจได้ไม่ยากนะคะ ค่อย ๆ ทำ ค่อย ๆ เรียนรู้ไปค่ะ ไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้ถ้าหัวใจเรายังสู้ แล้วพบกันในบทความถัดไปนะคะ
ถ้าคุณอยากประสบความสำเร็จ คุณต้องทำสิ่งที่คุณรักด้วยความสุขนะคะ
“คุณสามารถเปลี่ยนตัวเองจากคนธรรมดาให้กลายเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้ แค่เพียงมีความรู้ มีแรงบันดาลใจ และมีความสุข ฉันอยู่ที่นี่เพื่อจะแบ่งปันสิ่งเหล่านี้ให้กับคุณค่ะ”
มาร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันกับหลักสูตร เจ้าของโรงแรม-รีสอร์ทขนาดเล็ก ใคร ๆ ก็เป็นได้
คอร์สอบรมที่ช่วยให้คุณเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมได้ ภายใน 2 วัน
หนังสือที่คนอยากทำธุรกิจโรงแรมต้องอ่าน!!!
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
มาเป็นเพื่อนกับเราทางไลน์!!!
ถ้าไม่อยากพลาดข่าวสารและบทความดีๆ