
เมื่อคุณคิดอยากเป็นเจ้าของธุรกิจอะไรสักอย่าง คำเตือนแรกคือ จงอย่าเริ่มต้นธุรกิจโดยไม่มีความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจนั้น มีหลายคนที่ตกม้าตายเพราะคิดว่าตัวเองมีกำลังทรัพย์และกำลังสติปัญญาที่สะสมไว้มากพอที่จะสร้างธุรกิจขึ้นมาสักหนึ่งธุรกิจได้ไม่ยาก
โดยเฉพาะการเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมนั้นแค่เพียงมีเงินลงทุนสร้างอาคารขึ้นมาสักหลังหนึ่งแล้วตกแต่งให้สวยงามตามแบบที่เจ้าของชอบ ก็น่าจะเพียงพอแล้วกับการมีแขกเข้ามาพักและผู้เป็นเจ้าของกิจการก็กลายเป็นเสือนอนกิน
การเริ่มต้นจะเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมนั้น นอกเหนือจากเรื่องการออกแบบอาคาร การตกแต่งสถานทีเพื่อสร้างความประทับใจให้แขกที่เข้ามาพักเกิดความพอใจแล้ว สิ่งสำคัญที่เจ้าของโรงแรมจะต้องรู้ คือ วิธีเลือกรูปแบบธุรกิจและการวางแผนภาษีให้สอดคล้องกับหลักกฏหมายโรงแรม เพื่อให้การประกอบธุรกิจโรงแรมของเราดำเนินการไปอย่างลื่นไหลไม่สะดุด และตกม้าตายด้วยความชะล่าใจว่ามีเงินลงทุนมากพอก็เป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมได้
คลิกอ่านต่อ ที่นี่
รูปแบบธุรกิจต่างๆ มีดังนี้
1.ธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียว หรือเรียกว่าเป็นกิจการส่วนตัว เป็นวิธีการทำธุรกิจที่เก่าแก่และเรียบง่ายที่สุด มีวิธีการดำเนินธุรกิจแบบง่ายๆไม่ซับซ้อน เพราะเป็นกิจการเจ้าของคนเดียวจึงไม่มีปัญหาในการจัดการควบคุมดูแล
เจ้าของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการงานทั้งระบบ และรับผิดชอบในเงินทุนและหนี้สินแต่เพียงผู้เดียว หากธุรกิจมีกำไรหรือขาดทุนก็จะตกอยู่กับเจ้าของกิจการแต่เพียงผู้เดียวเช่นกัน อยากจะขายกิจการ หรืออยากจะยกเลิกเมื่อไดก็ได้
ตามแต่ใจปรารถนา หรือวันไหนคิดเบื่ออยากโอนกิจการให้คนอื่นดูแลต่อก็ทำได้ง่ายๆ
*** กรณีเป็นบุคคลธรรมดา ก็เสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา (ภงด.90,91,94) และไม่ต้องจดทะเบียนที่กระทรวงพาณิชย์
2.คณะบุคคล คือ บุคคลตั้งแต่สองคน ไม่เกินสามคน (ที่ไม่ใช่ สามี ภรรยา ซึ่งจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย) ร่วมธุรกิจกันประกอบกิจการการค้า โดยต้องทำสัญญาตกลงจัดตั้งคณะบุคคล โดยระบุวัตถุประสงค์ที่ต้องการจัดตั้งและต้องมอบหมายให้ บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการของคณะบุคคลนี้ โดยยื่นต่อกรมสรรพากร เพื่อขอหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี กรณีประกอบกิจการซื้อมาขายไปต้องยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ ต่อสำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์ หรือสำนักทะเบียนพาณิชย์ของแต่ละจังหวัด กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพื่อออกใบทะเบียนพาณิชย์
3.ห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่มิใช่นิติบุคคล หมายถึง บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปได้ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น
ที่จริงแล้ว คณะบุคคลกับห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล มีรูปแบบเหมือนกันทุกประการ แต่ปัจจุบันสรรพากรได้คำนิยามของคณะบุคคลต่างกับห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จด ทะเบียน ตรงที่ว่า คณะบุคคลไม่มีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันผลกำไรที่ได้จากกิจการที่ทำ (หรือผู้ที่จะจดทะเบียนคณะบุคคลได้ต้องเป็นมูลนิธิ สมาคม องค์กรสาธารณะกุศล เป็นต้น)
4. ห้างหุ้นส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แบ่งห้างหุ้นส่วนออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
4.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญ
คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกเดียว โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้น ส่วนไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนสามัญ จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นห้างหุ้นส่วนสามัญจึงแยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน ซึ่งไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
2. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและมีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล”
โครงสร้างห้างหุ้นส่วนสามัญ
- มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
- มีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกเดียว คือ หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดชอบ โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวง ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน
- ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนเข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้
- จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ก็ได้ ถ้าจดทะเบียนเรียกว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล”

4.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด
คือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 จำพวก ดังนี้คือ
1. หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งรับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น
2. หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ได้แก่ หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วน โดยไม่จำกัดจำนวน
โครงสร้างห้างหุ้นส่วนจำกัด
– มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
– ผู้เป็นหุ้นส่วนมี 2 จำพวก คือ
1. หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดชอบ รับผิดเฉพาะจำนวนเงินที่รับว่าจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วน
2. หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความผิดชอบ รับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน
– ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้นเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ
– ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การดำเนินการจัด ตั้งห้างหุ้นส่วน
เมื่อมีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงใจที่จะเข้าร่วมลงทุนประกอบกิจการเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประเภทใด ประเภทหนึ่งดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากบรรดาผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจะต้องเป็นผู้มีหน้าที่ ดำเนินการขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
กรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด กฎหมายกำหนดให้ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จะเป็นได้เฉพาะแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น
5. บริษัทจำกัด
คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบ มูลค่าของหุ้นที่ตนถือ
โครงสร้างของ “บริษัทจำกัด”
1. ต้องมีผู้ร่วมลงทุน อย่างน้อย 3 คน
2. แบ่งทุนออกเป็นหุ้น และมีมูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน
3. มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท
4. ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นมีจำกัด (เฉพาะจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ)
5. ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การดำเนินการจัดตั้ง บริษัทจำกัด ในการจัดตั้งบริษัทจำกัดนั้น จะต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
1. ต้องมีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป เข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิขึ้น แล้วไปจดทะเบียน
2. เมื่อได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัทที่จะตั้งขึ้นนั้นมีผู้ เข้าชื่อจองซื้อหุ้นจนครบ
3. ดำเนินการประชุมตั้งบริษัท โดยต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมให้ผู้จองทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม
4. เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัท และที่ประชุมได้แต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป
5. กรรมการบริษัทเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้นชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อย ละ 25 ของมูลค่าหุ้น (ทุนของบริษัทจะแบ่งเป็นกี่หุ้นก็ได้แต่ต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท)
6. เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการต้องไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน ภายหลังจากการประชุมตั้งบริษัท
7. ในการจัดตั้งบริษัท ถ้าได้ดำเนินการทุกขั้นตอนดังต่อไปนี้ ภายในวันเดียวกับวันที่ผู้เริ่มก่อการจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ กรรมการจะจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนตั้งบริษัทไปพร้อมกันภาย ในวันเดียวก็ได้
7.1 จัดให้มีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นครบตามจำนวนหุ้นทั้งหมดที่บริษัทจะจดทะเบียน
7.2 ประชุมจัดตั้งบริษัท เพื่อพิจารณากิจการต่างๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1108 โดยมีผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุม และผู้เริ่มก่อการ และผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคน ให้ความเห็นชอบในกิจการที่ได้ประชุมกันนั้น
7.3 ผู้เริ่มก่อการได้มอบกิจการทั้งปวงให้แก่กรรมการบริษัท
7.4 กรรมการได้เรียกให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น ใช้เงินค่าหุ้น โดยจะเรียกครั้งเดียวเต็มมูลค่าหรือไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า ตามมาตรา 1110 วรรคสองก็ได้ และผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนได้ชำระเงินค่าหุ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว
***กรณีเป็นนิติบุคคล ต้องเสียภาษีแบบนิติบุคคล (ภงด.50,51) และจดทะเบียนนิติบุคคลที่กระทรวงพาณิชย์ด้วย

การวางแผนภาษีธุรกิจโรงแรม
เมื่อรู้จักรูปแบบธุรกิจกันแล้ว ต่อไปนี้ก็เป็นเรื่องของการวางแผนภาษีเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจโรงแรม และเราควรจะวางแผนภาษีอย่างไรสำหรับการลงทุนในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือเช่าเพื่อทำธุรกิจ
ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจกโรงแรม มีดังนี้
1.ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีประกอบกิจการมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี
2. ภาษีโรงเรือน และสิ่งปลูกสร้าง เกณฑ์ในการคำนวนภาษีโรงเรือน สำหรับกิจการประเภทโรงแรม รีสอร์ท ห้องพักรายวันนะค่ะ
– ค่าเช่าห้อง/วัน x จำนวนห้องทั้งหมด x 365 วัน x 8 % = ค่ารายปี
– ค่ารายปี x 12.5% = ภาษีโรงเรือนที่ต้องชำระ
3. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ขึ้นอยู่กับว่าเลือกประกอบธุรกิจในประเภทใด
การวางแผนภาษีของธุรกิจโรงแรม มีประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น
1. รูปแบบธุรกิจที่จะดำเนินการ
2. รายได้ และต้นทุนที่เกี่ยวข้อง
3. วัตถุประสงค์ของผู้ประกอบการ ฯลฯ
การวางแผนภาษีจะต้องนำข้อมูลต่าง ๆ มาพิจารณาเปรียบเทียบ เพื่อหาข้อสรุปว่าการประกอบธุรกิจในรูปแบบไหนระหว่างบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลจะเหมาะสมกว่า และสอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ โดยในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้จากค่าเช่าสามารถหักรายจ่ายได้ 2 แบบระหว่าง
– หักรายจ่ายเป็นการเหมาอัตรา 70%
– หักรายจ่ายตามความจำเป็นและสมควร
กรณีหักรายจ่ายตามความจำเป็นและสมควร คือการ ต้นทุนค่าก่อสร้าง, ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการและมีหลักฐานใบเสร็จรับเงินที่สมบูรณ์ มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษี
กรณีนี้หากมุ่งเน้นเรื่องภาษีเป็นหลัก ลองนำข้อมูลที่เกิดขึ้นมาคำนวณภาษีระหว่างบุคคลธรรมดาทั้งกรณีหักรายจ่ายเป็นการเหมา,หักตามความจำเป็นและสมควร และนิติบุคคล เปรียบเทียบกันอาจจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน
การประกอบธุรกิจสามารถดำเนินการได้ทั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ซึ่งหากพิจารณาภาระภาษีเป็นหลักสามารถดำเนินการได้ตามที่อธิบายในข้อ 2 แต่ควรพิจารณาองค์ประกอบอื่นเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

ขอบคุณข้อมูลจากเว็บwww.msgconsultant.com
การลงทุนในที่ดิน เพื่อนำมาสร้างธุรกิจโรงแรม
สามารถดำเนินการได้หลายวิธี เช่น
- ซื้อที่ดินในนามบุคคลธรรมดา และนำมาให้บริษัทเช่า กรณีนี้ บุคคลธรรมดา จะมีเงินได้ ต้องนำไปรวมคำนวณภาษี แต่บริษัทจะมีต้นทุนค่าเช่า นำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ซื้อที่ดินในนามนิติบุคคล และนำไปสร้างโรงแรม กรณีนี้จะไม่สามารถนำค่าที่ดินไปหักเป็นรายจ่ายของกิจการได้ เพราะที่ดินถือเป็นทรัพย์สินแต่ไม่เสื่อมค่า จึงไม่สามารถหักเป็นรายจ่ายของกิจการได้
เมื่อรู้จักรูปแบบธุรกิจแล้ว คงจะสามารถช่วยในการตัดสินใจได้นะค่ะว่าธุรกิจโรงแรม-รีสอร์ท ของคุณควรเป็นรูปแบบธุรกิจบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ถ้ารายได้ไม่มาก การประกอบธุรกิจในแบบบุคคลธรรมดา หรือคณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบีน น่าจะเหมาะสมเพราะขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องจัดทำบัญชี ไม่ต้องไปจดทะเบียนนิติบุคคลที่กระทรวงพาณิชย์ แต่ถ้าคาดการณ์ว่ารายได้จากผลประกอบการในอนาคตจะต้องมากขึ้นแน่ๆ สามารถนำค่าใช้จ่ายของกิจการไปหักลดหย่อนรายได้ เพื่อช่วยประหยัดภาษี การจดทะเบียนนิติบุคคลจะดูเหมาะสมและน่าเชื่อถือกว่า ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและวัตถุประสงค์ในการทำธุรกิจของคุณด้วยคะ ยังไงก็ตาม เลือกรูปแบบธุรกิจและการวางแผนภาษีให้สอดคล้องกับหลักกฏหมายโรงแรมและเหมาะสมกับลักษณะธุรกิจโรงแรมของคุณนะค่ะ เพื่อที่คุณจะได้ทำธุรกิจได้อย่างถูกต้องเป็นมืออาชีพคะ
“เราเชื่อว่าการแบ่งปันความรู้ คือพลังที่ยิ่งใหญ่”
ขอให้ทุกท่านจงสร้างธุรกิจโรงแรมที่ดี มีคุณภาพเพื่อช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวให้กับประเทศไทยของเรา
เพื่อแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และแรงบันดาลใจ ฝากกดไลค์ กดแชร์ และบอกต่อด้วยนะคะ
หนังสือที่คนอยากทำธุรกิจโรงแรมต้องอ่าน!!!
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
➡ สมัครด่วน (รับจำนวนจำกัด)
มาเป็นเพื่อนกับเราทางไลน์!!!
ถ้าไม่อยากพลาดข่าวสารและบทความดีๆ
