
ประเทศไทยขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยวอันดับต้น ๆ ของโลก จึงมีหลายท่านที่อยากหลบหนีจากงานประจำที่แสนน่าเบื่อออกมาสร้างธุรกิจโรงแรม-รีสอร์ทขนาดเล็กในฝันเป็นของตัวเองบ้าง แต่คำถามที่ตามมาคือแล้วจะก่อสร้างและดำเนินการอย่างไรเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย
คลิกอ่านต่อ ที่นี่
ติดตามรับฟัง Podcast บน Spotify คลิกที่นี่ ⇒
รับชมบน Youtube ช่อง A-LISA แบ่งปันความรู้
ปัญหาเรื่องการก่อสร้างโรงแรมให้ถูกต้องตามกฎหมายอย่างไรเพื่อให้ได้รับใบอนุญาตนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับเจ้าของกิจการหน้าใหม่ที่กำลังจะกระโดดเข้ามาในวงจรธุรกิจนี้ มันยังเป็นประเด็นร้อนอยู่สำหรับท่านเจ้าของธุรกิจโรงแรมที่ได้ก่อสร้างและเปิดดำเนินการก่อนหน้านี้มาหลายปีแล้ว อย่าได้ท้อถอยหรือกังวลใจไปเลยค่ะ การทำงานทุกอย่างมันต้องมีอุปสรรคเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าไม่ใช่เรื่องนี้ก็ต้องเป็นเรื่องอื่นอยู่ดี ฉันเองก็เป็นเจ้าของกิจการโรงแรมขนาดเล็กที่ไม่เคยมีความรู้เรื่องการทำธุรกิจโรงแรมมาก่อนเลย แต่ทุกอย่างเราจะผ่านมันไปได้ค่ะ เพียงแค่มีไฟปรารถนาที่อยากจะทำ และอย่ายอมให้ไฟปรารถนานี้มอดดับลงเพียงเพราะความกลัวและไม่กล้าเผชิญหน้ากับมัน
ในบทความเรื่อง 5 สิ่งที่คุณต้องรู้ ถ้าอยากสร้างโรงแรมให้ถูกต้องตามกฎหมาย ฉันได้นำเนื้อหาเหล่านี้มาให้ท่านผู้อ่านเพื่อใช้เป็นแนวทางคร่าว ๆ ว่าการจะสร้างโรงแรมให้ถูกต้องตามกฎหมายนั้นมีสิ่งใดที่คุณต้องเตรียมตัวศึกษาเรียนรู้ไว้บ้าง
- รู้จักเรื่องของผังเมือง
คุณต้องตรวจสอบผังเมืองรวมของจังหวัดหรือพื้นที่ก่อสร้างโรงแรมของคุณก่อน ว่าตรงที่จะสร้างโรงแรมนั้นผังเมืองห้ามหรือไม่ คุณสามารถเข้าไปตรวจสอบผังเมืองใหม่ที่มีการอนุญาตให้ทำธุรกิจโรงแรมได้ที่กรมโยธาธิการและผังเมือง หรือ www.dpt.go.th นอกจากนี้หากคุณต้องการซื้อตึกเก่ามาปรับปรุงใหม่ คุณต้องตรวจสอบทุกครั้งว่า ตึกที่คุณสนใจจะซื้อนั้นเคยมีการฟ้องร้องเป็นคดีความหรือไม่ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ที่สำนักงานเขตหรืออำเภอในท้องที่นั้น ๆ
อ่านเรื่องของผังเมืองเพิ่มเติม (คลิ๊กที่นี่)
- รู้จักกฎหมายเรื่องความปลอดภัย
โรงแรมเป็นอาคารควบคุม การก่อสร้างจึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับของกฎกระทรวงด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัยต่อผู้ใช้อาคาร ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นมากที่คุณควรต้องรู้กฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ ก่อนที่จะก่อสร้าง สำหรับท่านเจ้าของโรงแรมที่ได้ก่อสร้างก่อนวันที่ 19 สิงหาคม 2559 และท่านที่นำอาคารเก่ามาปรับปรุงเป็นโรงแรมนั้น กฎกระทรวงก็ได้ผ่อนปรนข้อกำหนดตามลักษณะของอาคารให้ในบางเรื่อง แต่ไม่ยอมผ่อนปรนในเรื่องของความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยต่อการใช้สอยอาคารนั้นอย่างเด็ดขาด
สามารถเข้าไปอ่านเรื่อง
- กฎหมายที่ใช้ควบคุมอาคารอยู่อาศัยรวม อาคารชุด อพาร์ทเมนท์และโรงแรม ที่คนทำธุรกิจโรงแรมต้องรู้!!! (คลิ๊กที่นี่)
- ขั้นตอนการนำอาคารประเภทอื่นมาเปลี่ยนเป็นโรงแรม ที่คนทำธุรกิจโรงแรมต้องรู้!!! (คลิ๊กที่นี่)
อาคารที่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการผ่อนปรนมาตรฐานข้อกำหนดตามกฎหมายควบคุมอาคาร คือ อาคารที่ก่อสร้างก่อนวันที่ 19 สิงหาคม 2559 ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรมประเภทที่ 1 (ให้บริการเฉพาะห้องพัก) หรือประเภท 2 (ให้บริการห้องพักและห้องอาหาร) หากเป็นโรงแรมประเภท 3 และปะเภท 4 ไม่สามารถผ่อนปรนได้ เจ้าของโรงแรมที่นำเอาอาคารเก่ามาดัดแปลงเป็นโรงแรม ก่อนขอรับใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารเก่าเป็นโรงแรม ต้องดำเนินการยื่นขออนุญาตดัดแปลงอาคารให้ได้รับใบอนุญาตดัดแปลงอาคาร (แบบ อ.1 ) หรือหากใช้วิธีแจ้งการดัดแปลงโดยไม่ยื่นขออนุญาตและดำเนินการตามมาตร 39 ทวิ ต้องได้รับใบแจ้งการดัดแปลงอาคาร (แบบ ยผ.4) ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้บังคับใช้ แล้วจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารให้ได้รับใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารเป็นโรงแรม (แบบอ.5) ภายใน 5 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้บังคับใช้
- รู้จักกฎหมายว่าด้วยสิ่งแวดล้อม คุณต้องตรวจสอบเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสิ่งแวดล้อม ในกรณีดังนี้
- อาคารที่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเภทโรงแรมหรือสถานที่พักตากอากาศที่ต้องทำ EIA ต้องมีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป หรือมีพื้นที่ใช้สอยรวมกันตั้งแต่ 4,000 ตารางเมตรขึ้นไป
- อาคารที่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination : IEE) คืออาคารที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่นตัวอย่างพื้นที่ดังต่อไปนี้
1. ในบริเวณพื้นที่จังหวัดกระบี่ และในท้องที่อำเภออ่าวลึก อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
2. ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต
3. ในบริเวณพื้นที่อำเภอบางละมุง และอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
4. ในท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง อำเภอทัปปุด อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา
5. ในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายางและอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
6. พื้นที่อื่น ๆ ตามที่จะมีประกาศกำหนดเพิ่ม
การจัดทำรายงาน IEE ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดโครงการหรือกิจการตามที่กำหนดในแต่ละประกาศ เช่น ในบางฉบับกำหนดให้โรงแรมหรือสถานที่พักตากอากาศตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมที่อยู่ห่างจากแนวชายฝั่งทะเลเกินกว่า 50 เมตร ซึ่งมีห้องพักตั้งแต่ 10-79 ห้อง หรือมีพื้นที่ใช้สอยของทุกอาคารดังกล่าวรวมกันตั้งแต่ 500 ตร.ม.แต่ไม่ถึง 4,000 ตร.ม. เป็นอาคารที่ต้องมีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น เท่าที่ทราบมาขณะนี้จังหวัดภูเก็ตได้เปลี่ยนประกาศกระทรวงเป็นกำหนดจำนวนห้องพักตั้งแต่ 30 ห้องขึ้นไป กฎนี้จึงช่วยให้เจ้าของโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดภูเก็ตผ่อนคลายได้มากขึ้นค่ะ ส่วนจังหวัดอื่น ๆ ในพื้นที่ติดชายทะเลก็กำลังพิจารณากฎหมายในลักษณะเดียวกันนี้อยู่ค่ะ
ดูรายละเอียดเรื่องของ EIA และ IEE เพิ่มเติม (คลิ๊กที่นี่)
- รู้จักกฎหมายที่จอดรถ
กฎหมายเดิมกำหนดให้โรงแรมที่มีห้องพักตั้งแต่ 30 ห้องขึ้นไปต้องมีที่จอดรถ ทำให้มีผลกระทบต่อโรงแรมขนาดเล็กที่มีเนื้อที่จำกัดเป็นอย่างมาก จึงทำให้มีโรงแรมบางแห่งที่เจ้าของไม่ยอมทำที่จอดรถเนื่องจากต้องจัดสรรเนื้อที่ไว้สร้างตัวอาคารโรงแรมให้ได้จำนวนห้องพักตามที่ต้องการ ปัจจุบันกฎหมายจึงได้อนุโลมเรื่องของที่จอดรถให้ โดยกำหนดว่าหากมีพื้นที่ล๊อบบี้หรือพื้นที่เพื่อการพาณิชย์ไม่เกิน 300 ตร.ม.หรือโรงแรมตั้งอยู่ในสถานที่ธรรมชาติที่ไม่สามารถนำรถยนต์เข้าไปได้ ก็ไม่จำเป็นต้องสร้างที่จอดรถ
ดูรายละเอียด เรื่องกฎหมายที่จอดรถเพิ่มเติม (คลิ๊กที่นี่)
- รู้จักสร้างพันธมิตร
ข้อนี้คุณคงจะสงสัยว่าพันธมิตรจำเป็นกับการสร้างโรงแรมให้ถูกต้องตามกฎหมายได้อย่างไร กฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551 ข้อ 3(4) กำหนดว่า “โรงแรมต้องไม่ตั้งอยู่ในบริเวณหรือใกล้เคียงกับโบราณสถาน ศาสนสถานหรือสถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนา หรือสถานที่อื่นใดอันจะทำให้เกิดทัศนียภาพที่ไม่เหมาะสม กระทบต่อความมั่นคงและการดำรงอยู่ของสถานที่ดังกล่าว หรือจะทำให้ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น”
ซึ่งการจะก่อสร้างโรงแรมอยู่ใกล้กับสถานที่เหล่านี้ หากว่าเจ้าถิ่นเดิม ไม่ว่าจะเป็นวัด โรงเรียน โรงพยาบาลและประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ ไม่ยินยอมคุณก็ไม่สามารถจะสร้างได้ ถ้าคุณยังดึงดันฝ่าฝืนจะสร้างโดยที่เจ้าถิ่นเขาไม่ยอมก็จะคงจะมีเรื่องราวคัดค้านและความไม่สงบสุขเกิดขึ้นทำให้การบริหารจัดการโรงแรมไม่ราบรื่น ดังนั้นถ้าคุณมีแผนจะก่อสร้างโรงแรมใกล้กับสถานที่สำคัญต่าง ๆ ก็ลองหากลยุทธ์ไปตีซี้กับเจ้าถิ่นดูค่ะ เผื่อว่าเขาจะยินยอม
หวังว่าเนื้อหาในบทความนี้จะเป็นแนวทางให้กับท่านผู้อ่านที่กำลังหาข้อมูล เพื่อไปก่อสร้างธุรกิจโรงแรม-รีสอร์ทในฝันของตัวเองนะคะ มีบางท่านสอบถามเข้ามาว่าถ้าสั่งซื้อหนังสือของเราไปอ่านแล้วจะสร้างโรงแรม-รีสอร์ทได้เลยไหม? ขอตอบให้ชัดเจนตรงนี้เลยนะคะ ว่า “ไม่ได้” ค่ะ หนังสือคือแหล่งความรู้ที่เป็นเครื่องนำทางของคุณเท่านั้น แต่คุณต้องมีความกล้าในตัวเองที่จะเริ่มต้นลงมือทำด้วยค่ะ ถ้าคุณมีความรู้บวกกับกล้าลงมือทำเมื่อไหร่ เมื่อนั้นธุรกิจโรงแรม-รีสอร์ทของคุณก็จะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาอย่างแน่นอนค่ะ
*** ข้อมูลอ้างอิงจาก สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง

“คุณสามารถเปลี่ยนตัวเองจากคนธรรมดาให้กลายเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้ แค่เพียงมีความรู้ มีแรงบันดาลใจ และมีความสุข ฉันอยู่ที่นี่เพื่อจะแบ่งปันสิ่งเหล่านี้ให้กับคุณค่ะ”
มาร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันกับหลักสูตร เจ้าของโรงแรม-รีสอร์ทขนาดเล็ก ใคร ๆ ก็เป็นได้
คอร์สอบรมที่ช่วยให้คุณเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมได้ ภายใน 2 วัน
หนังสือที่คนอยากทำธุรกิจโรงแรมต้องอ่าน!!!
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
มาเป็นเพื่อนกับเราทางไลน์!!!
ถ้าไม่อยากพลาดข่าวสารและบทความดีๆ