เชียงคาน เมืองโบราณสุดชิคที่ใครๆก็ต้องรู้จัก และเป็นชื่ออำเภอหนึ่ง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดเลย เชียงคานเป็นเมืองเล็กๆริมแม่น้ำโขงที่แสนยิ่งใหญ่ที่ยังคงรักษาความเป็นท้องถิ่นดั้งเดิมของสิ่งปลูกสร้างและวัฒนธรรมพื้นบ้าน ท่ามกลางความสงบเงียบของชุมชน เป็นแรงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศหลั่งไหลเข้ามาที่เชียงคานไม่ได้ขาด
เมืองเล็กๆที่หลงเข้ามาแล้วทำให้รู้สึกว่ากาลเวลาได้หยุดนิ่งลงอย่างช้าๆและค่อยๆนำความสงบนิ่ง เรียบง่าย ดื่มด่ำกับธรรมชาติของสถานที่เข้าสู่จิตวิญญาณของผู้มาเยือนจนฝังอยู่ในจิตใจกลับไปแล้วก็ยากจะลืมจนต้องกลับมาเยือนอีกในหลายๆครั้ง
คลิกอ่านต่อ ที่นี่

นอกจากเสนห์อันน่าหลงไหลในกลิ่นอายของความเป็นเมืองโบราณแล้ว เชียงคานได้ห่อหุ้มเรื่องราวแห่งประวัติศาสตร์ในอดีตอันยาวนานที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อได้ลองค้นคว้าหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเชียงคานแล้ว จึงทำให้ทราบว่าเชียงคานเป็นเมืองโบราณที่มีพัฒนาการสืบเนื่องมาพันกว่าปีเลยทีเดียวค่ะ จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ เชียงคาน ก่อร่างสร้างตัวขึ้น ราวๆพ.ศ.1400 ขุนคาน คือผู้ที่ก่อตั้งเมืองเชียงคานแห่งนี้ขึ้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนหน้าที่ราชอาณาจักรที่สำคัญอย่าง ล้านช้าง เวียงจันทร์ หลวงพระบาง หรือแม้กระทั่งอาณาจักรล้านนา จะสถาปนาความยิ่งใหญ่ขึ้นมา และยังมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ได้บันทึกไว้ เกี่ยวกับความเป็นจริงที่ว่าร่องรอยแห่งอารยธรรมโบราณหลาย ๆ แห่งในแถบลุ่มน้ำโขงนั้น ถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของอารยะธรรมมนุษย์แห่งแรก ๆ เหนือผืนแผ่นดินเอเซียอาคเนย์แห่งนี้กันเลยทีเดียว ข้อมูลทางประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่าเชียงคานมีความสำคัญ คือเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้างในสมัยนั้น เมื่ออาณาจักรล้านช้าง ที่ยิ่งใหญ่ในขณะนั้น ได้แตกแยกกลายเป็นสองอาณาจักร คือ อาณาจักรเวียงจันทร์ และ อาณาจักรหลวงพระบาง ทาง เวียงจันทร์ ได้ตั้งเมือง เชียงคานเดิม ซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเป็นเมืองหน้าด่าน จากนั้นอาณาจักรหลวงพระบางจึงตั้งเมือง ปากเหือง ขึ้นมาเป็นเมืองหน้าด่านของราชอาณาจักรนี้ด้วยเช่นกัน ในขณะนั้นดินแดนทางตอนใต้ของอาณาจักรล้านช้างแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นถิ่นที่อยู่ของอารยะชนชาวสยาม ก็ได้เริ่มก่อร่างสร้างอาณาจักรของตนเองขึ้นมาควบคู่กัน ครั้นถึง พ.ศ. 2320 เมื่ออาณาจักรของชาว สยาม เริ่มมีอำนาจ และความเป็นปึกแผ่นมากขึ้นเรื่อยๆ พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงได้โปรดให้ เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับพระสุรสีห์ ยกทัพไปตีกรุงเวียงจันทร์ หลังจากตีเวียงจันทร์สำเร็จจึงได้อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” กลับมายังกรุงธนบุรี แล้วได้รวมทั้งสองอาณาจักรคือ เวียงจันทร์ และ หลวงพระบาง ให้กลับมาเป็นอาณาจักรเดียวกัน แล้วให้ อาณาจักรล้านช้าง ขึ้นเป็นหนึ่งในประเทศราชของไทย จากนั้นจึงกวาดต้อนผู้คนจากหลวงพระบาง ให้มาอยู่ที่เมือง ปากเหือง มากขึ้น แล้วโปรดเกล้าฯ ให้เมืองปากเหือง ขึ้นอยู่กับเมืองพิชัยในขณะนั้น
ต่อมาในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น เจ้าอนุวงศ์ เจ้าเมืองเวียงจันทร์คิดกอบกู้เอกราชเพื่อแยกเป็นอิสระจากราชอาณาจักรสยาม รัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้าฯให้กองทัพไทยยกทัพไปปราบเจ้าอนุวงศ์ ที่นครราชสีมา เมื่อกองทัพของเจ้าอนุวงศ์พ่ายแพ้ เจ้าอนุวงศ์จึงถูกนำตัวมาจองจำที่กรุงเทพฯจนสิ้นชีวิตในที่สุดครั้นถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พวก จีนฮ่อ ได้ยกทัพมาตีเมืองเวียงจันทน์ กับเมืองหลวงพระบาง และได้เข้าปล้นสะดมเมือง เชียงคานเดิม ที่อยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ชาวเชียงคานเดิมจึงอพยพผู้คนไปอยู่เมือง เชียงคานใหม่ (เมืองปากเหือง) เป็นจำนวนมาก ครั้นต่อมา เห็นว่าชัยภูมิเมืองเชียงคานใหม่ที่เมืองปากเหืองไม่มีความเหมาะสม ผู้คนส่วนใหญ่จึงอพยพไปตั้งรกรากใหม่อยู่ที่ บ้านท่านาจันทร์ ซึ่งใกล้กับที่ตั้งของอำเภอเชียงคานปัจจุบัน แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า เมืองใหม่เชียงคาน
ต่อมาในช่วงทศวรรษ ๒๔๓๐ ฝรั่งเศสเข้ามามีอิทธิพลเหนือลุ่มน้ำโขง โดยในปี พ.ศ. ๒๔๒๘ ได้ดินแดนญวนทั้งหมดเป็นอาณานิคม และในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ เกิดเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ โดยใช้เรือปืนบีบบังคับให้รัฐบาลไทยยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศสด้วยตระหนักถึงภัยจากลัทธิล่าอาณานิคม ผู้นำรัฐไทยจึงปฏิรูปการปกครองหัวเมืองอีสาน โดยจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ภายใต้การบริหารงานของข้าหลวงต่างพระองค์จากส่วนกลาง เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเมืองเหนือดินแดนภายในพระราชอาณาจักร ในช่วงเวลาแห่งการปฏิรูปนี้ เชียงคานมีสถานะเป็นเมืองชายแดน ติดกับอินโดจีนของฝรั่งเศส รัฐบาลจึงเฝ้าดูแล อย่างใกล้ชิด และปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองอยู่เสมอตามบริบททางการเมืองระหว่างประเทศโดยในระยะแรกให้อยู่ในสังกัดเมืองพิชัย มณฑลพิษณุโลก ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ไทยเสียดินแดนหลวงพระบางฝั่งขวาให้ฝรั่งเศส
ผู้คนทั้งหมดที่อยู่เมืองปากเหือง จึงอพยพมาบ้านท่านาจันทร์ นับแต่นั้นเมืองเชียงคานจึงเหลือชุมชนที่บ้านท่านาจันทร์เพียงแห่งเดียว ในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ รัฐบาลปรับเปลี่ยนบริเวณน้ำเหืองเป็นจังหวัดเลย แต่เชียงคานไม่ได้อยู่ในสังกัดเมืองใดเป็ นเวลา ๒ ปี เรียกว่า “เอกราชน้อยเชียงคาน” จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๒ จึงตั้งเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดเลย มณฑลอุดร และดำรงสถานะนั้นมาจนถึงปัจจุบัน เรื่องราวเกี่ยวกับเชียงคานมีอยู่ในบันทึกหลายฉบับ เนื่องจากเป็นเมืองชุมทางที่เชื่อมโยงหนองคาย เมืองท่าสำคัญกับหลวงพระบาง ศูนย์กลางลาวเหนือ และสามารถติดต่อกับภาคกลางของไทยได้โดยเดินทางเข้าเมืองเลย ข้ามทิวเขาเพชรบูรณ์ลงสู่หล่มสักและเพชรบูรณ์ แล้วล่องเรือตามลำน้ำป่าสักไปออกแม่น้ำเจ้าพระยา
หลังจากที่บอกเล่าถึงประวัติความเป็นมาของเมืองเชียงคานแล้วเรามากล่าวถึงตัวตนคนเชียงคานกันบ้างนะค่ะ ในประวัติศาสตร์อีสาน กลุ่มคนที่มีบทบาทสร้างบ้านแปงเมือง คือ กลุ่มคนลาว ในส่วนของเมืองเชียงคาน และชุมชนอื่นในแถบนี้ จากบันทึกของมิสเตอร์ดับบลิว เจ อาร์เชอร์ ทำให้ทราบว่าคนพื้นเมืองที่นี่มาจากเมืองพวน การสืบเชื้อสายมาจากลาวพวนแถบเมืองหลวงพระบาง ก่อรูปจิตสำนึกคนเชียงคานให้มีความเป็น “ลาวหลวงพระบาง” ซึ่งเกิดจากความคุ้นเคยในการใช้ชีวิตท่ามกลางวิถีวัฒนธรรมเช่นนั้น ตลอดจนการรับรู้ทางประวัติศาสตร์ที่เล่าสืบทอดกันมา ความแตกต่างระหว่างความเป็น “ลาวหลวงพระบาง” ของคนเชียงคาน กับคนลาวทั่วไปในอีสานที่สืบเชื้อสายมาจากเวียงจันท์ และจำปาศักดิ์อยู่ที่ธรรมเนียมประเพณีบางอย่าง โดยเฉพาะภาษาพูด กลุ่มคนแถบนี้มีสำเนียงสูงกว่า แต่ฟังดูไพเราะนุ่มนวลคนท้องถิ่นจึงเรียกกลุ่มคนลาวแถบลุ่มน้ำมูล-ชี ว่า “ไทใต้” เพราะตั้งถิ่นฐานอยู่ทางทิศใต้ และเรียกตนเองว่า “ไทเชียงคาน” หรือ “ไทเลย” สำนึกนี้ได้นำความภาคภูมิใจมาสู่คนท้องถิ่น โดยถือว่าตนมีความเป็นลาวที่บริสุทธิ์เหนือกว่าลาวกลุ่มอื่นอย่างไรก็ตาม สิ่งที่คนเชียงคานและคนลาวกลุ่มอื่นมีร่วมกัน คือ ความเชื่อ ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ผสมผสานกับความเชื่อเรื่องภูตผีวิญญาณและศาสนาพราหมณ์ ซึ่งก่อให้เกิดจารีตประเพณีที่มีวัตรปฏิบัติอันงดงามสำหรับบันทึกของ เอเจียน แอมอนิเย แสดงให้เห็นถึงอิทธิความเชื่อ เรื่องภูตผีวิญญาณที่มีต่อการแพทย์พื้นบ้าน เช่น การอยู่ไฟมารดาหลังคลอดบุตร ความว่า “เวลาเกิด หมอตำแยให้จัดตั้งเตาไฟ เพื่อให้คนที่คลอดลูกอยู่ไฟ และทำการบวงสรวงเจ้าถิ่นด้วยข้าวของ ข้าวแดง เทียน และธูปหอมที่มุมเตาไฟทั้ง ๔ มุม คนที่คลอดลูกนั้นต้องดื่มน้ำร้อน แล้วประมาณ ๗ หรือ ๙ วันต่อมา ก็จะมีการทำพิธีออกกรรมโดยการบวงสรวงเทวาอารักษ์อีกครั้งหนึ่ง และมาชุมนุมเพื่อร่วมรับประทานอาหารด้วยกัน”

จากข้างต้นจะเห็นว่า บันทึกการเดินทางของชาวตะวันตกนำเสนอ “ตัวตน” ของคนเชียงคาน ที่มีรากร่วมทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมกับ “ลาวหลวงพระบาง” แตกต่างจากคนลาวกลุ่มอื่นในอีสาน อัตลักษณ์ทางสังคมที่โดดเด่นนำมาสู่ความภาคภูมิใจของคนเชียงคาน รวมถึงคนเลยทั่วไป สิ่งที่ชวนให้คิดได้ว่า ขณะที่กระแสการท่องเที่ยวเชียงคาน กำลังครึกโครมอยู่ในปัจจุบัน การให้ความสำคัญกับ “ตัวตน” ซึ่งเป็นจุดแข็งที่ทำให้เชียงคานยังคงรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมเอาของตนเอาไว้ได้

เชียงคานในปัจจุบันนี้ยังเป็นเมืองในฝันของนักเดินทางและนักท่องเที่ยวอีกหลายคนที่ต้องการจะเดินทางเข้ามาสัมผัสวิธีชีวิตแบบท้องถิ่นและวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ยังคงรักษาไว้มาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นประเพณีตักบาตรข้าวเหนียว ที่แสดงถึงวิถีชาวพุทธของคนเชียงคาน และเที่ยวชมความงามของวิถีชิวิตสองฝั่งโขงที่สงบเงียบ บ้านเรือนไม้ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ นอกจากนี้แล้วเชียงคานยังมีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่ไม่ควรพลาด คือแก่งคุดคู้ แก่งหินขนาดใหญ่ขวางอยู่กลางลำน้ำโขง ถนนคนเดินเชียงคานแหล่งเดินชอปปิ้งและซื้อของฝาก มีมุมสำหรับให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกไปพร้อมกับการเดินชิมอาหารพื้นเมืองโดยเฉพาะ”กุ้งเต้น”ซึ่งเป็นอาหารที่ใครมาถึงเชียงคานแล้วไม่ลองไม่ได้เลย และของฝากขึ้นชื่อของอำเภอเชียงคานที่จะลืมไม่ได้เลยคือ มะพร้าวแก้ว สินค้าโอทอปเลื่องชื่อของเชียงคานที่ใครชิมก็ต้องติดใจ
“เราเชื่อว่าการแบ่งปันความรู้ คือพลังที่ยิ่งใหญ่”
ขอให้ทุกท่านจงสร้างธุรกิจโรงแรมที่ดี มีคุณภาพเพื่อช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวให้กับประเทศไทยของเรา
หากคุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้ ฝากกดไลค์ กดแชร์ และบอกต่อด้วยนะคะ
หนังสือที่คนอยากทำธุรกิจโรงแรมต้องอ่าน!!!
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
➡ สมัครด่วน (รับจำนวนจำกัด)
มาเป็นเพื่อนกับเราทางไลน์!!!
ถ้าไม่อยากพลาดข่าวสารและบทความดีๆ
