เมื่อคุณได้วางแผนและจัดตารางการทำงานเพื่อให้มองเห็นภาพรวมของการก่อสร้างธุรกิจโรงแรม-รีสอร์ทขนาดเล็กในมุมกว้างอย่างทะลุปรุโปร่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่คุณจะต้องดำเนินการก็คือ การวางแผนการก่อสร้างอย่างเป็นระบบแบบมืออาชีพเพื่อให้การก่อสร้างโรงแรม-รีสอร์ทของคุณนั้นลื่นใหลและสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และนี่คือขั้นตอนวางแผนที่คุณต้องรู้ค่ะ
คลิกอ่านต่อ ที่นี่
เพราะผลงานการออกแบบที่โดดเด่นทางสถาปัตยกรรมของโรงแรม-รีสอร์ทของคุณนั้นจะต้องมีอายุโครงการยาวนานอย่างน้อยสิบถึงยี่สิบปี ดังนั้นแล้วในส่วนของงานก่อสร้างเป็นสิ่งที่คุณจะต้องให้ความใส่ใจเป็นอย่างมากและไม่อาจละเลยได้ และเป็นเรื่องสมควรอย่างยิ่งที่คุณจะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งงานออกแบบ การว่าจ้างผู้รับเหมา ทีมงานก่อสร้าง การวางแผนเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความรอบคอบเป็นอย่างยิ่ง และยังเป็นการแสดงถึงความเป็นมืออาชีพในการเป็นผู้บริหารของคุณด้วย การวางแผนที่ดีจะต้องมีรายละเอียดหลักครบถ้วนตามขั้นตอนที่ควรจะเป็น กำหนดระยะเวลาในแต่ละกิจกรรมอย่างเหมาะสม และที่สำคัญที่สุดต้องมองเห็นปัญหาล่วงหน้า และหากเกิดปัญหาก็สามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
4 ขั้นตอน วางแผนก่อสร้างธุรกิจโรงแรม-รีสอร์ทขนาดเล็ก ประกอบด้วย
1.การวางแผนทางการเงิน
เครื่องมือที่ช่วยในการวางแผนทางการเงินคือ การจัดทำ Cash Flow (กระแสเงินสด) จะช่วยให้เราทราบสถานะทางการเงินล่วงหน้าว่าช่วงใดที่ต้องมีการใช้เงินเท่าใด และช่วงไหนมีการรับเงินเข้ามา เมื่อนำรายรับและรายจ่ายมาหักลบกันแล้วก็จะสามารถเห็นว่าในขณะที่กำลังดำเนินการก่อสร้างในแต่ละช่วงเวลา มีช่วงเวลาใดบ้างที่ต้องระดมทุนเพื่อไม่ให้ติดขัด ในบางครั้งรายรับที่เข้ามาไม่ทันก็จะต้องมีการสำรองจ่ายออกไปก่อน หรือหากมีการกู้เงินจากสถาบันการเงิน ก็ต้องมีการวางแผนจัดเตรียมเอกสารไว้ล่วงหน้าเพราะทางสถาบันการเงินต้องใช้เวลาในการพิจารณาพอสมควร
ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- ค่าใช้จ่ายทางตรง (Direct Cost) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการก่อสร้างโดยตรง เช่น ค่าวัสดุ อุปกรณ์ก่อสร้าง ค่าแรง คุณสามารถประเมินค่าใช้จ่ายนี้ได้จากแบบและรายการประกอบแบบ แต่ก็อาจเกิดการผิดพลาดได้จากการเกิดวิกฤตค่าวัสดุ ค่าแรง ราคาเหล่านี้อาจพุ่งสูงได้จากวิกฤตการณ์ต่างๆในระหว่างก่อสร้าง ขอยกตัวอย่างจากปี 2008 ในตอนนั้นจีนเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก เหล็กราคาสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ถึง 2 เท่า ทำเอาผู้รับเหมาขาดทุนหนักเพราะไม่มีใครคาดคิดมาก่อน วิธีป้องกันคือ วางแผนการใช้วัสดุและทำการล๊อกวัสดุและราคาล่วงหน้า โดยให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันให้ แต่ต้องระวังอย่าล๊อกมากเกินกว่าใช้งานจริง เพราะหากวัสดุมีราคาตกลงมาสู่สภาพเดิมคุณจะเสียหายได้จากการซื้อของแพงล่วงหน้า
- ค่าใช้จ่ายทางอ้อม ( Indirect Cost) เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับกิจกรรมการก่อสร้าง ไม่มีระบุอยู่ในแบบ แต่เจ้าของโครงการต้องทำเพื่อให้การก่อสร้างดำเนินการต่อไปได้ เช่น ค่าซื้อแบบ ค่าธรรมเนียมธนาคาร ค่าภาษี ค่างานรื้อถอน ประมาณการค่าใช้จ่ายทางอ้อมเป็นเรื่องยาก เพราะมีรายละเอียดค่อนข้างมาก คุณจึงต้องมีการเก็บ Record ของงานไว้เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการทำงานต่อๆไป ค่าใช้จ่ายประเภทนี้คุณต้องมีความระเอียดรอบคอบให้มากๆเพื่อป้องกันการผิดพลาดและอาจมีผลกระทบทำให้ขาดทุนจากการประมาณการค่าใช้จ่ายทางอ้อมผิดพลาด
2. การวางแผนกำลังคน
กำลังคนในการบริกหารงานก่อสร้างโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
2.1 ระดับบริหารงานและวางแผนโครงการ ได้แก่ ผู้จัดการโครงการ วิศวกรโครงการ วิศวกรสนาม ซึ่งจะมีหน้าที่หลักในการวางแผนการทำงาน จัดหาทีมงานและผู้รับเหมาช่วง ตัดสินใจแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ตรวจสอบความก้าวหน้าของโครงการ รวมถึงติดต่อกับเจ้าของโครงการและผู้เกี่ยวข้องต่างๆ
2.2 ระดับควบคุมงาน ได้แก่ หัวหน้าควบคุมงาน มีหน้าที่รับนโยบายและแผนการทำงานจากระดับบริหาร และกระจายงานไปยังหน่วยก่อสร้างต่างๆ รวมถึงการจัดหาวัสดุเครื่องไม้เครื่องมือในการทำงานให้กับช่าง ควบคุมการก่อสร้างให้ถูกต้องเป็นไปตามกำหนดเวลา
2.3 ระดับปฏิบัติงาน ได้แก่ ช่างฝีมือ ผู้ใช้แรงงาน กลุ่มนี้จะเป็นปัญหาระดับชาติกันเลยทีเดียวเพราะเป็นกลุ่มที่มักจะขาดแคลนและหายาก สาเหตุหลักๆมักเกิดจาก มีโครงการใหม่ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า หรือกลับบ้านต่างจังหวัดในช่วงทำนา ผู้รับเหมาส่วนใหญ่จึงต้องใช้แรงงานต่างด้าวชาวพม่า เขมร เข้ามาแทน แต่ต้องทำการขออนุญาตให้เรียบร้อยเสียก่อนเพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมาภายหลัง
3. การวางแผนวัสดุและอุปกรณ์
มูลค่าวัสดุอุปกรณ์เป็นสัดส่วนของราคางานประมาณ 80% ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงมากของโครงการ กำไรของผู้รับเหมาส่วนใหญ่มาจากการจัดหาวัสดุที่ต่ำกว่าราคาที่ประเมินไว้ เพื่อให้ได้วัสดุที่ตรงตาม Specification ในราคาที่ต่ำ จึงต้องพิจารณาจาก
- สำรวจปริมาณ ราคา ที่ต้องใช้ล่วงหน้า รวมถึงระยะเวลาในการจัดส่ง
- คาดการณ์แนวโน้มราคา ต้องประมาณราคาในช่วงที่ดำเนินงานก่อสร้างหรือสั่งซื้อล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงเมื่อได้เซ็นสัญญาโครงการแล้ว
- ถ้าวัสดุใดมีแนวโน้มขาดแคลนต้องซื้อเก็บไว้ให้มากพอในคลังสินค้า
- จัดระบบคลังสินค้าป้องกันการเสียหายหรือสูญหาย
- เปรียบเทียบราคาและSpec กับ Supplier หลายๆเจ้า
4. การวางแผนเริ่มงาน
ประกอบด้วย
4.1 การดูสถานที่ก่อสร้าง ผู้เกี่ยวข้องได้แก่ เจ้าของโครงการ สถาปนิก ผู้รับเหมา จำเป็นต้องไปดูสถานที่ก่อสร้างเพื่อดูข้อจำกัดของสถานีที่ก่อสร้าง เช่น ลักษณะทางกายภาพของสถานที่ก่อสร้าง สถาพการคมนาคม ขนาดของพื้นที่และสภาพแวดล้อม สาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปา
4.2 การวางผังสำนักงานชั่วคราว ต้องจัดวางอย่างรอบคอบ การจัดวางพื้นที่ต่างๆต้องเหมาะสม มีระยะต่างๆชัดเจน ตลอดจนการกำหนดความแข็งแรงของตัวอาคารและการระบายน้ำเสีย การกำจัดสิ่งปฏิกูล เหล่านี้ต้องทำให้ถูกหลักวิชาการและถูกต้องตามกฎหมาย
4.3 การศึกษาแบบและรายการประกอบแบบ เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้รู้ว่าผู้รับเหมาต้องทำการส่งมอบอะไรตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญา ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งระหว่างรูปแบบกับบัญชีปริมาณวัสดุ (BOQ) ต้องยึดเอาเอกสารที่มีความชัดเจนที่สุดเป็นเกณฑ์
ขอแถมท้ายอีกนิดนะคะ ถ้าหากโครงการธุรกิจโรงแรม-รีสอร์ทของคุณมีขนาดเล็ก คุณก็ไม่จำเป็นต้องว่าจ้างผู้บริหารโครงการก่อสร้างให้สิ้นเปลือง ขอเพียงคุณมีเวลาในการดูแลทุกขั้นตอนเอง หรือมีคนที่ไว้ใจคอยช่วยให้คำแนะนำหรือช่วยควบคุมดูแลในส่วนนี้ เท่านี้ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้โครงการธุรกิจโรงแรม-รีสอร์ทขนาดเล็ก ในฝันของคุณเป็นจริง เมื่อคุณได้วางแผนอย่างละเอียดรอบคอบทั้ง 4 ขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว รับรองได้เลยค่ะว่าคุณจะเป็นมือใหม่ที่ใกล้เคียงกับมืออาชีพอย่างแน่นอน
“ 2 สิ่งที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จ คือความรู้และแรงบันดาลใจ โดยมีเป้าหมายคือความสุข”
ขอให้ทุกท่านจงสร้างธุรกิจโรงแรมที่ดี มีคุณภาพเพื่อช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวให้กับประเทศไทยของเรา
หากคุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้ ฝากกดไลค์ กดแชร์ และบอกต่อด้วยนะคะ
มาร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันกับหลักสูตร เจ้าของโรงแรม-รีสอร์ทขนาดเล็ก ใคร ๆ ก็เป็นได้
คอร์สอบรมที่ช่วยให้คุณเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมได้ ภายใน 2 วัน
หนังสือที่คนอยากทำธุรกิจโรงแรมต้องอ่าน!!!
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
มาเป็นเพื่อนกับเราทางไลน์!!!
ถ้าไม่อยากพลาดข่าวสารและบทความดีๆ