การกู้เงิน ธนาคาร เป็นเส้นทางลัดที่จะช่วยให้คุณสามารถเนรมิตธุรกิจโรงแรม-รีสอร์ทในฝันได้ นอกเหนือจากกำลังเงินและกำลังทรัพย์ที่คุณมี และยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยคุณขยายกิจการให้กว้างขวางขึ้น แต่ก็ไม่ใช่อยู่ดี ๆ ธนาคารจะให้คุณกู้เงินได้ง่าย ๆ เพราะความเป็นไปได้ในการปล่อยเงินกู้ของธนาคารนั้นมันต้องแลกด้วยแผนธุรกิจที่ดีค่ะ
มีหลายท่านที่เป็นพนักงานประจำจนเบื่อแล้ว และเมื่อถึงวาระหนึ่งก็อยากจะเป็นเจ้าของกิจการเองบ้าง และธุรกิจที่คิดไว้ก็คือเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรม-รีสอร์ทสักแห่ง แต่ว่าเงินเก็บและเงินบำเหน็จบำนาญที่ได้มามันก็ยังไม่พอจะลงทุนอยู่ดี จะหยิบยืมญาติพี่น้องก็ไม่มีใครมีน้ำใจจะช่วยเหลือ ถ้าจะหันไปหาหนี้นอกระบบก็ดูจะเป็นเรื่องง่ายแต่ดอกเบี้ยก็มหาโหดเช่นกัน ในที่สุดก็มาถึงตัวเลือกสุดท้ายคือต้องกู้เงินธนาคาร แต่จะเดินไปขอกู้ง่าย ๆ ก็คงจะไม่ได้เพราะธนาคารก็ต้องการข้อมูลของคุณเพื่อป้องกันความเสี่ยงเช่นกัน และสิ่งที่จะช่วยให้คุณสามารถกู้เงินจากธนาคารได้ก็คือ การมีแผนธุรกิจที่ดี ค่ะ
คลิกอ่านต่อ ที่นี่
หลักเกณฑ์ที่ธนาคารใช้พิจารณาเพื่อปล่อยสินเชื่อ
การพิจารณาสินเชื่อของธนาคารที่จะปล่อยเงินกู้แต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ของธนาคารนั้น ๆ แต่มีแนวทางพิจารณาทั่วไปดังนี้ค่ะ
- ต้องเป็นโครงการที่มองเห็นความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม
- ต้องเป็นโครงการที่มีศักยภาพในการลงทุนสูง
- โครงการมีแนวโน้มที่จะเติบโตในอนาคต
- โครงการมีจุดเด่นที่สามารถแข่งขันในตลาดได้
- มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนและมีกำลังซื้ออย่างแท้จริง
- มีผลตอบแทนในการลงทุนที่ดี
- มีวิธีการบริหารจัดการที่ดี
สิ่งที่จะทำให้ธนาคารเชื่อมั่นว่าโครงการธุรกิจโรงแรม-รีสอร์ทของเรานั้น มีศักยภาพเพียงพอและมั่นใจว่าเมื่อปล่อยเงินกู้ออกมาแล้วจะไม่เป็นหนี้สูญ อย่างไรเสียก็ได้เงินต้นบวกดอกเบี้ยคืนอย่างแน่นอน เรียกว่า แผนธุรกิจ ค่ะ ซึ่งก่อนที่คุณจะยื่นขอกู้เงินกับธนาคารคุณต้องเตรียมตัวจัดทำแผนธุรกิจให้ดีเสียก่อน สำหรับท่านที่เป็นเจ้าของกิจการอยู่แล้วก็คงจะคุ้นหน้าคุ้นตามาบ้าง แต่สำหรับท่านที่เป็นพนักงานประจำและต้องการออกไปทำธุรกิจก็คงจะยังงง ๆ ว่า แผนธุรกิจ มีหน้าตาเป็นอย่างไร ในบทความนี้จึงนำแนวทางการเขียนแผนธุรกิจที่ดีมาแบ่งปันให้อ่านกันค่ะ
แผนธุรกิจที่ดีประกอบด้วย
1. บทสรุปผู้บริหาร ประกอบด้วย
-
- กล่าวถึงความเป็นมาของกิจการผู้บริหาร(เจ้าของ) และสภาวะปัจจุบันของกิจการที่ผู้บริหารกำลังดำเนินการอยู่
- ชื่อสถานที่ตั้งของธุรกิจที่จะดำเนินการ
- สินค้าหรือบริการที่ต้องการผลิต ปริมาณที่ต้องการผลิต
- กิจการปัจจุบันเป็นอย่างไรและการดำเนินงานเป็นอย่างไรบ้าง
- ช่องทางธุรกิจใหม่และโอกาสที่จะขยายกิจการ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น
- วัตถุประสงค์ของการขอสินเชื่อ
- กลยุทธ์การบริหารจัดการ
- ผลตอบแทนจากการลงทุนในโครงการ
2. ประวัติความเป็นมา
-
- ประวัติของกิจการ
- ประวัติผู้บริหารและผู้ถือหุ้น สัดส่วนการลงทุน
- รายชื่อผู้ถือหุ้น
- ผลงานที่ผ่านมา
3. วิเคราะห์ตลาดและอุตสาหกรรมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
-
- ภาพรวมของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
- ทิศทางแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจ
- นโยบายของธุรกิจและระเบียบกฎเกณฑ์ของภาคปฏิบัติที่สนับสนุนโครงการ
4. วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของโครงการ
-
- จุดแข็งของโครงการมีอะไรบ้าง คุณต้องพยายามหาให้เจอ
- จุดอ่อนมีอะไรบ้าง และหาวิธีการอุดช่องว่างของจุดอ่อนนี้
- โครงการนี้มีโอกาสที่จะสนับสนุนได้อย่างไร
- อะไรคืออุปสรรคที่จะขัดขวางการทำธุรกิจ
5. กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของโครงการให้ชัดเจน
- กำหนดวิสัยทัศน์ที่จะทำในอนาคต
- พันธกิจ คือข้อผูกพันที่จะช่วยให้ฝันเป็นจริง
- เป้าหมายที่ดำเนินการให้บรรลุพันธกิจ ทั้งด้านเวลา ขอบเขตงานและผลที่คาดว่าจะได้รับตามเป้าหมายว่ามีอยู่อย่างไรบ้าง
6. แผนกลยุทธ์ธุรกิจที่จะนำมาใช้ในโครงการ
-
- บอกทิศทาง แนวทางของบริษัทว่าจะดำเนินการในกลยุทธ์อย่างไร เช่น ต้องการขยายธุรกิจ ต้องการเพิ่มยอดขาย หรือปรับปรุงกิจการ เป็นต้น
- บอกถึงศักยภาพของธุรกิจในการแข่งขันที่เหนือกว่าคู่แข่ง
7. อธิบายแผนการบริหาร
- โครงสร้างการบริหาร
- ทีมงานผู้บริหาร
- จำนวนพนักงานตามโครงสร้าง
- ที่ปรึกษาการเงิน บัญชี และกฎหมาย
- ศักยภาพ ความสามารถในการบริหารจัดการ
8. อธิบายแผนการตลาด
-
- ภาพรวมทั่ว ๆ ไปของตลาดธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมที่กำลังดำเนินการ
- โครงการโรงแรม-รีสอร์ท มีรายละเอียดของที่ตั้งเป็นอย่างไร เช่น ประเภท ชนิด ขนาดพื้นที่ ระยะเวลาดำเนินการก่อสร้าง ตลาดกลุ่มเป้าหมาย ประมาณการยอดขายห้องพัก และวิธีการขายห้องพัก
- บอกถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายหลักและกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ
- ภาวการณ์แข่งขันและข้อได้เปรียบคู่แข่งขัน
- กลยุทธ์ทางการตลาด ตลอดจนแนวทางแก้ปัญหาเมื่อสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลง เช่น โรคระบาด ภัยธรรมชาติ เป็นต้น
9. แผนการดำเนินงาน
แผนที่สมบูรณ์ต้องเป็นแผนที่กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้รับผิดชอบ และรายละเอียดการดำเนินงานอย่างชัดเจน และมีระยะเวลาปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จตามแผนที่วางไว้ ซึ่งต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
-
- กำหนดกิจกรรมที่จะทำอย่างชัดเจน พร้อมอธิบายรายละเอียดของกิจกรรมว่ามีอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติดำเนินการได้อย่างถูกต้องไม่สับสน
- กำหนดระยะเวลาของแต่ละกิจกรรมให้แน่นอน ในแต่ละช่วงเวลา
- กำหนดงบประมาณที่นำมาใช้ดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม
- กำหนดให้ผู้ที่รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมนั้นเป็นผู้มีความรู้ความสามารถมาช่วยทำงานให้บรรลุผล
- มีผู้ควบคุม กับกับดูแล และประเมินผลงาน
10. แผนการลงทุน และการเงินของโครงการ
โดยการจัดทำประมาณการกระแสเงินสดของโครงการ
11. การวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการ
โดยวิเคราะห์จากเหตุปัจจัยภายนอกและภายในของโครงการ กล่าวคือ
-
- ความเสี่ยงของสถานการณ์ทั่วไปของประเทศและของโลก เช่น โรคระบาด ความวุ่นวายทางการเมือง ภัยสงคราม ราคาน้ำมันในตลาดโลก และการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น
-
- ความเสี่ยงจากสถานการณ์ภายในโครงการ เช่น ผู้บริหารไร้ความสามารถ พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลงไป เกิดคู่แข่งขันรายใหม่ เป็นต้น
12. แผนสำรอง
หมายถึง แผนการที่เตรียมเอาไว้แก้ปัญหาเมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะต้องมีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอตลอดเวลาจากบุคคลหลาย ๆ ฝ่าย เช่น จากพนักงานหรือจากลูกค้าและที่ปรึกษา
13. ภาคผนวก
เป็นการรวบรวมข้อมูลหลักฐาน และเอกสารประกอบแผนธุรกิจ เพื่อความถูกต้องของการนำเสนอแผนธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น หนังสือรับรองบริษัท วัตถุประสงค์ บัญชีผู้ถือหุ้น งบการเงิน ใบอนุญาตต่าง ๆ เอกสารกรรมสิทธิ์ที่ดิน สัญญาจะซื้อจะขาย บัญชีรายชื่อลูกค้า เป็นต้น
เมื่อคุณมีแผนธุรกิจอยู่ในมือแล้ว คุณควรจะสรุปเรื่องทั้งหมดให้สั้น ๆ เข้าใจได้โดยง่าย ว่าคุณมีโครงการอะไร ที่ไหน อย่างไร ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วก็จะบอกให้รู้ว่าโครงการที่คุณต้องการลงทุนนั้น ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนเท่าไหร่และจะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างไร ทั้งนี้ก็เพื่ออธิบายให้กับธนาคารที่คุณกำลังจะไปขอสินเชื่อได้เข้าใจง่ายขึ้นนั่นเอง และถ้าคุณตั้งใจทำแผนธุรกิจมาอย่างดี สามารถอธิบายให้เจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารฟังได้อย่างฉาดฉานจนเขามองเห็นภาพตามที่คุณนำเสนอ ก็มั่นใจได้เลยว่าคุณจะได้รับวงเงินกู้ออกมาดำเนินการสร้างธุรกิจโรงแรมในฝันได้สมดังที่ตั้งใจไว้ค่ะ
“เราเชื่อว่าการแบ่งปันความรู้ คือพลังที่ยิ่งใหญ่”
ขอให้ทุกท่านจงสร้างธุรกิจโรงแรมที่ดี มีคุณภาพเพื่อช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวให้กับประเทศไทยของเรา
หากคุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้ ฝากกดไลค์ กดแชร์ และบอกต่อด้วยนะคะ
มาร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันกับหลักสูตร เจ้าของโรงแรม-รีสอร์ทขนาดเล็ก ใคร ๆ ก็เป็นได้
คอร์สอบรมที่ช่วยให้คุณเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมได้ ภายใน 2 วัน
หนังสือที่คนอยากทำธุรกิจโรงแรมต้องอ่าน!!!
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
มาเป็นเพื่อนกับเราทางไลน์!!!
ถ้าไม่อยากพลาดข่าวสารและบทความดีๆ