656
ภาพโดย RENE RAUSCHENBERGER จาก Pixabay
เวลาที่ฉันไปนั่งเล่นกับปู่ แกจะชอบนำเรื่องราวในอดีตมาเล่าให้ฟังอยู่เสมอ แววตาและน้ำเสียงของแกแฝงไปด้วยความสุขเมื่อได้ถ่ายทอดประสบการณ์ในความทรงจำเมื่อครั้งอดีตออกมาเป็นถ้อยคำ
ครั้งหนึ่งปู่เคยเล่าให้ฟังว่าสมัยเมื่อตอนพ่อยังเป็นเด็ก แกไม่ค่อยได้มีโอกาสอยู่กับพ่อมากนักเพราะต้องเดินทางเอาวัวควายไปค้าขายจังหวัดอื่นในแถบภาคกลางและภาคตะวันออก การเดินทางแต่ละครั้งกินเวลาหลายเดือน ปู่จึงถือว่าเป็นตำนานของนายฮ้อยในยุคแรก ๆ
ปู่เล่าว่านายฮ้อยนั้นมีที่มาจากคนสมัยก่อน เวลาค้าขายจะใช้เงินเหรียญเป็นตัวกลาง เงินเหรียญถูกเก็บไว้ในถุงผ้าเรียกว่า ‘ถุงไถ่’ ผูกร้อยเอาไว้ที่เอว เวลาเดินทางไปค้าขายชาวบ้านจึงเรียกพ่อค้าในสมัยนั้นว่า ‘นายร้อย’ เมื่อออกเสียงเป็นภาษาอีสานจึงเป็น ‘นายฮ้อย’
คลิกอ่านต่อ ที่นี่
อาชีพนายฮ้อยเริ่มต้นในช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ภาวะสงครามทำให้มีความต้องการข้าวในตลาดโลกมากขึ้น ชาวนาภาคกลางต้องเร่งขยายพื้นที่ทำนาจึงต้องการใช้แรงงานวัวควายจำนวนมากและกองทัพญี่ปุ่นก็ต้องการขอซื้อวัวควายไปเป็นอาหารเพื่อเลี้ยงทหารที่ประจำการในพื้นที่ต่าง ๆ เป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน เรื่องนี้สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับรัฐบาลไทยสมัยจอมพล ป พิบูลสงคราม เป็นอย่างมาก เพราะขืนปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไปวัวควายในประเทศคงขาดแคลนจนต้องเรียกประชุมเป็นวาระแห่งชาติเพื่อจำกัดไม่ให้นำวัวควายออกนอกพื้นที่ แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งความต้องการของกองทัพญี่ปุ่นได้จนวัวควายในแถบภาคกลางลดน้อยลงเรื่อย ๆ
ส่วนภาคอีสานยังมีวัวควายอยู่จำนวนมากราคาก็ถูกแสนถูกชาวบ้านจึงรวมกลุ่มกันขึ้นมาเรียกว่านายฮ้อย ทำหน้าที่ซื้อวัวควายในหมู่บ้านและพื้นที่ใกล้เคียงแล้วรวบรวมไปขายยังภาคกลาง สมัยนั้นคนที่จะเป็นนายฮ้อยต้องมีคุณสมบัติหลายอย่าง ไม่ใช่คิดอยากเป็นก็เป็นได้เลย
การค้าขายของนายฮ้อยจะเริ่มต้นหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวลากยาวไปจนถึงฤดูทำนาเพื่อป้องกันวัวควายไปเหยียบย่ำที่นาของชาวบ้าน เมื่อรวบรวมวัวควายได้พอประมาณแล้วเหล่านายฮ้อยทั้งหลายจะร่วมกันทำพิธีบายศรีสู่ขวัญผูกข้อต่อแขนและหาฤกษ์ยามก่อนต้อนฝูงวัวควายออกไปขาย นายฮ้อยที่เข้าร่วมทำพิธีจะต้องดื่มน้ำสาบานร่วมกันเพื่อแสดงความซื่อสัตย์สุจริตและสัญญาว่าจะไม่เอาเปรียบคดโกงกัน จากนั้นก่อนออกเดินทางก็จะสั่งเสียภรรยาให้อยู่ดูแลบ้านช่องและเลี้ยงดูลูก ๆ ให้ดี
ขบวนวัวควายที่นำไปขายแต่ละครั้งมีจำนวนหลายร้อยตัวบางเที่ยวมีมากถึงพันตัว การเลือกนายฮ้อยจึงต้องคัดสรรผู้ที่มีลักษณะเหมาะสม คุณสมบัติเบื้องต้นของนายฮ้อยคือต้องผ่านการบวชเรียนมาก่อนเพราะสมัยก่อนนั้นไม่มีโรงเรียน ดังนั้นคนบวชเรียนมาคือคนที่มีความรู้และยังต้องมีความรู้เฉพาะทางในการดูลักษณะวัวควายที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ สามารถอ่านออกเขียนได้ พูดสื่อสารภาษากลางได้ มีความรู้และชำนาญเส้นทาง นอกจากนี้หากมีความสามารถด้านคาถาอาคมวิชาป้องกันตัวจะได้รับพิจารณาเป็นพิเศษ ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันเหตุเพศภัยที่จะเกิดขึ้นระหว่างเดินทาง
นายฮ้อยในสมัยนั้นต้องต้อนฝูงวัวควายเดินด้วยเท้าโดยมีจุดหมายปลายทางส่วนใหญ่อยู่ที่อำเภอพนัสนิคมจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นตลาดนัดวัวควายที่ใหญ่ที่สุดในตอนนั้น ด้วยระยะทางที่ยาวไกลระหว่างทางจึงอาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นหลายอย่าง เช่นว่าวัวควายที่ต้อนไปบางตัวเกิดเจ็บป่วยรักษาไม่หายล้มตายลงระหว่างทางทำให้ขาดทุนป่นปี้ก็มี แต่ที่น่ากลัวที่สุดคือพวกโจรที่คอยดักปล้นทำร้ายอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะเขตอำเภอปากช่องในสมัยนั้นจัดเป็นพื้นที่สีแดงที่ต้องระวังเป็นพิเศษ นายฮ้อยทุกคนจึงต้องพกดาบพกปืนไว้คอยป้องกันตัวและทรัพย์สิน ขึ้นชื่อว่าเป็นลูกผู้ชายต้องไว้ลายกันสักหน่อย
เมื่อขายวัวควายจนหมดแล้วนายฮ้อยจะพากันเดินเท้าจากอำเภอพนัสนิคมมาที่หัวลำโพงเพื่อนั่งรถไฟกลับสู่แดนอีสาน ระหว่างรอเพื่อนพ้องที่ยังขายไม่หมดตามมาสมทบในภายหลัง เหล่านายฮ้อยจะพากันไปซื้อหาเสื้อผ้าเครื่องประดับเพื่อนำกลับไปเป็นของฝากลูกเมียที่บ้าน ปู่เล่าว่าของฝากที่ทำให้ย่าประทับใจที่สุดในตอนนั้นเป็นสร้อยคอทองคำแท้เส้นยาวมากจนพันรอบคอได้ถึงสามรอบ
ในระหว่างที่เดินทางกลับ หัวหน้านายฮ้อยจะส่งคนมาแจ้งข่าวให้ทางบ้านรู้ล่วงหน้าว่าจะเดินทางมาถึงเวลาเท่านั้นเท่านี้ เมื่อเดินทางเข้าใกล้หมู่บ้านประมาณสองสามกิโลเมตรก็จะจุดประทัดหรือยิงปืนขึ้นฟ้าเสียงดังเป็นสัญญาณให้คนในครอบครัวรู้ว่าใกล้จะเดินทางมาถึงแล้วให้เตรียมตัวออกมาต้อนรับ ฝ่ายลูกเมียพ่อแม่ที่รออยู่บ้านเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณต่างก็พากันดีใจชวนกันเดินทางออกมารอต้อนรับขบวนนายฮ้อยด้วยความปีติยินดีที่ทุกคนกลับถึงบ้านอย่างปลอดภัย ภรรยาบางคนถึงกับน้ำตาไหลด้วยความปลาบปลื้มดีใจที่ได้รับของฝากจากผู้เป็นสามี
พอปู่ย่างเข้าสู่วัยชราพ่อจึงต้องเข้าสืบทอดตำแหน่งนายฮ้อย ประจำตระกูลแทน ปู่บอกว่าพ่อรักวัวควายเป็นที่สุดตอนเด็ก ๆ ให้ไปโรงเรียนก็ไม่ยอมไปเรียนหนังสือชอบหนีเรียนมาขลุกอยู่กับพ่อตู้หม่อนหรือคุณตาทวดของฉันทั้งวัน เพื่อช่วยเลี้ยงวัวเลี้ยงควายดูแลหาน้ำหาหญ้าให้มันกิน เมื่อโดดเรียนบ่อย ๆ เข้าทางโรงเรียนก็เรียกปู่ไปเตือน ปู่จึงจำใจ ต้องให้พ่อออกจากโรงเรียนมาเลี้ยงวัวซะเลยเพราะหมดหวังจะให้พ่อเรียนหนังสือสูง ๆ เพื่อโตไปเป็นเจ้าคนนายคนแล้ว
***การแบ่งปันความรู้เพื่ออนุรักษ์วิถีไทยในนวนิยายเรื่อง เมี่ยงคำ บทนี้ขออุทิศให้แด่ ปู่แหวน แก้วสิงทอง ด้วยความอาลัย
อ่านตอน บทนำ (บ้านหลังเก่ากับชีวิตใหม่) คลิกที่นี่
ถ้าคุณอยากรู้จักฉันมากขึ้น อ่านเรื่องราวของฉันได้ที่ “นวนิยาย เมี่ยงคำ”
คลิกดูรายละเอียดได้ ที่นี่
(หนังสือพร้อมส่ง จัดส่งฟรีทั่วประเทศ)
ราคาเล่มละ 320 บาท
.
หนังสือมีทั้งหมด 22 ตอน
บทนำ บ้านเหลังเก่ากับชีวิตใหม่ |
8. หุ่นไล่กา |
16. ใบปริญญา |
1.เมี่ยงคำ |
9. เรื่องเล่าบนลายผ้า |
17. ทำงานเพื่อเงิน |
2.ท้องทุ่งสีทองกับปากท้องของชาติ |
10. โรงเรียนของหนู |
18. สู้เพื่อฝัน |
3. นิทานของแม่ |
11. ชีวิตคือการเรียนรู้ |
19. พนักงานธนาคาร |
4. เรื่องเล่าของปู่ใหญ่ |
12. ยาย |
20. วาง |
5. คนจับช้าง |
13. เข้ากรุง |
21. กลับคืนสู่รากเหง้า |
6. อาหารหล่อเลี้ยงชีวิต |
14. สาวห้างฯ |
|
7. ประเพณีนิยม |
15. สาวโรงงาน |
|
|
|
|
“มาช่วยกันอนุรักษ์และแบ่งปันเรื่องราวของความเป็นไทยร่วมกันนะคะ”
ต้องการสั่งซื้อหนังสือ
สามารถโอนเงินได้ที่ ธ.ไทยพาณิชย์
เลขที่บัญชี 648-264114-3 บัญชีออมทรัพย์
ชื่อบัญชี ถิรพร แก้วสิงทอง สาขาเลย
หรือสแกน QR Code
 |
. |
หลังจากโอนเงินแจ้งสลิปและรายละเอียดจัดส่ง มาที่

Line iD : @a-lisa.net
สั่งซื้อและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
Tel: 095-7546268 Line iD : @a-lisa.net

“เราเชื่อว่าการแบ่งปันความรู้ คือพลังที่ยิ่งใหญ่”
หนังสือที่คุณอาจสนใจ
เพื่อแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และแรงบันดาลใจ ฝากกดไลค์ กดแชร์ และบอกต่อด้วยนะคะ
มาเป็นเพื่อนกับเราทางไลน์!!!
ถ้าไม่อยากพลาดข่าวสารและบทความดีๆ

Line ID: @a-lisa.net