
ถ้าคุณกำลังตัดสินใจอยากจะลงทุนในธุรกิจโรงแรม เคยมีคำถามเหล่านี้เกิดขึ้นบ้างไหมคะว่า โครงการโรงแรมของคุณมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนและสมควรจะนำเงินมาลงทุนในโครงการนี้หรือไม่ ?
แล้วการสร้างสมติฐานเพื่อจัดทำประมาณการกระแสเงินสด เกี่ยวข้องกันอย่างไรกันธุรกิจโรงแรม?
คลิกอ่านต่อ ที่นี่
การกำหนดสมติฐาน
ถือเป็นขั้นตอนแรกที่ต้องลงมือปฏิบัติก่อนจัดทำประมาณการกระแสเงินสด (Cash Flow) เพื่อวิเคราะห์โครงการค่ะ และต่อไปนี้เมื่อกล่าวถึงประมาณการกระแสเงินสดจะขอเรียกแบบย่อว่า CF นะคะ
การกำหนดสมติฐานในการวิเคราะห์โครงการนี้ เป็นการกำหนดสมติฐานประมาณการกระแสเงินสดรับ (Benefit ; B) และกระแสเงินสดจ่าย (Cost ; C) เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปจัดทำประมาณการกระแสเงินสดค่ะ
การกำหนด B กับ C ขึ้นมานั้น เป็นเพียงแค่การตั้งสมติฐานเท่านั้นเจ้าของธุรกิจโรงแรมยังไม่ได้ลงมือดำเนินการจริง ๆ เพียงแต่เป็นตัวเลขการคาดเดาว่า B กับ C ที่จะเกิดขึ้นในแต่ละเดือนไปตลอดโครงการนั้นจะเป็นจำนวนเท่าใดหากเจ้าของโครงการใส่เงินลงทุนไปในรายการต่าง ๆ พร้อมกับดำเนินการบริหารจัดการโครงการไปตามรูปแบบและวิธีการที่เขาคิด โดย B ที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องเป็นจำนวนที่สัมพันธ์กับ C อย่างมีนัยสำคัญ และต้องถูกคาดการณ์อย่างมีเหตุมีผลด้วยเพื่อสามารถบอกที่มาที่ไปของตัวเลขที่ตั้งสมติฐานขึ้นมาได้
อ่านเพิ่มเติม 6 ขั้นตอน วิธีจัดทำประมาณการกระแสเงินสด (CF) ของโรงแรมขนาดเล็ก คลิกที่นี่
ดังนั้น เพื่อจะตอบคำถามว่าโครงการโรงแรมของคุณในขณะนี้มีความเป็นไปได้และสามควรลงทุนหรือไม่?อันดับแรกคุณก็ต้องลองจัดทำประมาณการกระแสเงินสด (Cash Flow ; CF) ขึ้นมาก่อนเป็นลำดับแรกค่ะ ซึ่ง CF นี้จะช่วยตอบคำถามของคุณได้และยังจะบอกคุณอีกด้วยว่า โครงการโรงแรมของคุณนั้นต้องการเงินลงทุนเท่าใด และมีความเป็นไปได้ในการลงทุนหรือไม่?
การจัดทำประมาณการกระแสเงินสดนี้ ยังช่วยให้คุณทราบสถานะทางการเงินของกิจการที่มีอยู่ เพื่อให้มีเงินใช้ในกิจการอย่างตลอดรอดฝั่งโดยไม่ขาดสภาพคล่องทางการเงินและยังช่วยคุณวางแผนบริหารจัดการทางด้านการเงินด้วยค่ะ กล่าวคือ กิจการที่มีกระแสเงินสดรับมากกว่ากระแสเงินดจ่ายเท่ากับว่ากิจการมีเงินสำรองเก็บไว้และพร้อมที่จะขยายตัวในอนาคตได้มากกว่ากิจการที่เงินขาดมือหรือขาดสภาพคล่อง
การตั้งสมติฐาน จึงเป็นการสร้างจินตนาการของเจ้าของโครงการต่อเรื่องราวที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและนำมาจัดทำประมาณการกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจในส่วนของเงินสดที่จะรับเข้ามาและจ่ายออกไปในโครงการ ซึ่งแต่ละกิจการจะต้องมีการวางแผนเกี่ยวกับรายรับว่ามีเท่าใด เป็นรายรับจากแหล่งใดบ้างและจะมีรายรับเข้ามาในเวลาใดบ้าง รวมถึงภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จำเป็นที่จะเกิดขึ้นกับกิจการ
วิธีการกำหนดสมติฐาน
การตั้งสมติฐานด้านกระแสเงินสดรับ (Benefit; B)
การกำหนดสมติฐานด้านกระแสเงินสดรับ ต้องมีการประมาณการยอดขายของกิจการซึ่งการวางแผนทางการเงินทุกชนิดจะต้องเริ่มต้นจากการประมาณการยอดขายก่อน ไม่ว่าการประมาณการยอดขายนั้นจะให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม วิธีที่ใช้ประมาณการยอดขายสำหรับโครงการที่จัดตั้งขึ้นใหม่นั้น ต้องทำการศึกษาโครงสร้างของกิจการที่มีลักษณะใกล้เคียงกันเพื่อนำมากำหนดรายได้ของกิจการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่หากเป็นโครงการที่มีอยู่แล้วต้องการจะขยายโครงการใหม่ วิธีประมาณการยอดขายสำหรับโครงการคืออ้างอิงจากยอดขายของปีก่อนแล้วปรับปรุงด้วยเงื่อนไขและปัจจัยต่าง ๆ ที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อยอดขายในอนาคต
การประมาณการยอดขายนั้นยังมีเรื่องอื่นที่ต้องคำนึงถึงนั่นก็คือ กำลังการผลิตของกิจการหรือขีดความสามารถของกิจการที่สามารถผลิตได้จริง หากเป็นโครงการโรงแรมก็จะต้องคำนึงถึงจำนวนห้องพักที่สามารถสร้างได้ตามเนื้อที่ที่จำกัดของโครงการและอัตราค่าห้องพักของคู่แข่งในพื้นที่ของโครงการโรงแรมค่ะ
และยังต้องคำนึงถึงการให้เครดิตลูกหนี้การค้าด้วย เนื่องจากการจัดทำประมาณการกระแสเงินสด(CF) จะมองในส่วนของการไหลเข้าของกระแสเงินสดที่รับมาจริง ไม่ใช่ยอดขายจากการบันทึกบัญชี ณ ขณะนั้น เพื่อสะท้อนกระแสเงินสดรับจากยอดขายที่แท้จริง
ยกตัวอย่างเช่น โรงแรมให้เครดิตการค้ากับหน่วยงานภาครัฐเป็นเวลา 1 เดือน (30 วัน) ลูกค้าเข้าพักในเดือนที่1 แต่จะได้รับเงินในเดือนที่ 2 ดังนั้น ระยะเวลาที่รอเก็บเงินจากลูกหนี้การค้า (หน่วยงานจากภาครัฐ) จะยังไม่มีเงินสดเข้ามาในกิจการ แต่ในทางบัญชีบริษัทได้มีการบันทึกบัญชีว่ากิจการมีรายได้จากเหตุการณ์ดังกล่าวไปแล้ว เป็นต้น
การตั้งสมติฐานด้านกระแสเงินสดจ่าย (Cost; C)
การกำหนดสมติฐานด้านกระแสเงินสดจ่าย ต้องคาดการณ์กระแสเงินสดจ่าย 3 รายการ ดังต่อไปนี้
- กระแสเงินสดจ่ายรายการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่
- ค่าที่ดิน/อาคารโรงแรม
- อุปกรณ์สำนักงาน
- เครื่องตกแต่ง
- ยานพาหนะ
- เครื่องใช้สำนักงาน
- โปรแกรมคอมพิวเตอร์
เป็นต้น
2. กระแสเงินสดจ่ายรายการลงทุนนสินทรัพย์หมุนเวียน ได้แก่ วัตถุดิบหรือสินค้าที่ซื้อมาเพื่อขาย
เช่น
- วัตถุดิบสำหรับปรุงอาหาร ในกรณีที่มีร้านอาหาร
- สินค้าที่ซื้อมาเพื่อจำหน่ายในร้านขายของฝากหรือร้านค้าเบ็ดเตล็ด
เป็นต้น
รายจ่ายค่าวัตถุดิบหรือสินค้าที่ซื้อมาเพื่อขายนี้ยังต้องพิจารณาเครดิตที่ได้รับจากเจ้าหนี้การค้าด้วย
3. กระแสเงินสดจ่ายรายการค่าใช้จ่ายในการขายและบริการ ได้แก่
- เงินเดือนพนักงาน
- ค่าเช่า
- ค่าโฆษณา
- ค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์
- ค่าขนส่ง
เป็นต้น
ตัวอย่างการตั้งสมติฐานโรงแรมขนาด 2 ชั้น


การตั้งสมติฐานด้านอัตราการเข้าพักและเงินสดรับในแต่ละเดือนของโครงการโรงแรม 2 ชั้น

การตั้งสมติฐานเงินสดรับและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสำหรับระยะเวลา 1 ปี โครงการโรงแรม 2 ชั้น

จากตัวอย่าง สรุปได้ว่าหากคุณต้องการลงทุนโครงการโรงแรม 2 ชั้น คุณต้องใช้เงินลงทุนทั้งโครงการเป็นจำนวนเท่าใด และต้องลงทุนในรายการใดบ้างทั้งรายการของสินทรัพย์ถาวร รายการสินทรัพย์หมุนเวียนและรายการค่าใช้จ่ายในการขายและบริการ ซึ่งรายการเหล่านี้เป็จะทำให้คุณรู้กระแสเงินสดที่ต้องจ่ายออกไปตลอดอายุโครงการ และทำให้คุณรู้กระแสเงินสดรับที่จะเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขกระแสเงินสดจ่ายตามที่ได้วางแผนไว้ตามสมติฐานนี้
และหลังจากที่คุณได้ตัวเลขในสมติฐานนี้แล้ว คุณก็สามารถนำข้อมูลในตารางด้านกระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายไปจัดทำตารางประมาณการกระแสดงสดหรือ Cash Flow เพื่อการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุนโครงการในขั้นตอนต่อไปค่ะ และหลังจากนั้นคุณก็จะได้คำตอบว่าโครงการโรงแรมนี้มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนและสมควรจะนำเงินมาลงทุนในโครงการนี้หรือไม่ ? ซึ่งฉันจะขอนำมาแบ่งปันกับท่านผู้อ่านในบทความต่อไป
“เราเชื่อว่าการแบ่งปันความรู้ คือพลังที่ยิ่งใหญ่”
ขอให้ทุกท่านจงสร้างธุรกิจโรงแรมที่ดี มีคุณภาพเพื่อช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวให้กับประเทศไทยของเรา
หากคุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้ ฝากกดไลค์ กดแชร์ และบอกต่อด้วยนะคะ
มาร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันกับหลักสูตร เจ้าของโรงแรม-รีสอร์ทขนาดเล็ก ใคร ๆ ก็เป็นได้
คอร์สอบรมที่ช่วยให้คุณเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมได้ ภายใน 2 วัน
หนังสือที่คนอยากทำธุรกิจโรงแรมต้องอ่าน!!!
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
มาเป็นเพื่อนกับเราทางไลน์!!!
ถ้าไม่อยากพลาดข่าวสารและบทความดีๆ