
ภาษี คือเงินที่ผู้มีรายได้จะต้องนำส่งให้กับรัฐบาลตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อนำไปสนับสนุนกิจการของรัฐฯและพัฒนาประเทศ ดังนั้นธุรกิจโรงแรม-รีสอร์ททุกแห่งที่เปิดดำเนินกิจการแล้วก็มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีด้วยเหมือนกัน และนี่คือภาษีที่เกี่ยวข้องกับโรงแรมที่คนทำธุรกิจโรงแรมต้องจ่ายค่ะ
คลิกอ่านต่อ ที่นี่
ภาษีสำหรับธุรกิจโรงแรม-รีสอร์ท ที่คนเป็นเจ้าของโรงแรมต้องจ่าย! ได้แก่
- ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม มีดังนี้
ประเภทที่ 1 ฉบับละ 10,000 บาท
ประเภทที่ 2 ฉบับละ 20,000 บาท
ประเภทที่ 3 ฉบับละ 30,000 บาท
ประเภทที่ 4 ฉบับละ 40,000 บาท
(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมอย่างไรไม่ให้พลาด|ขั้นตอนและวิธีดำเนินการ คลิ๊ก…)
2. ค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรม
จ่ายปีละ 80 บาทต่อห้อง โดยคิดคำนวณตามจำนวนห้องพักของโรงแรม เช่น โรงแรมมีห้องพัก 20 ห้อง (20×80= 1600) คุณก็จ่าย 1,600 บาท ให้ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมชำระค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรมในปีแรกพร้อมกับการชำระ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม และต้องชำระค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรมต่อไปทุกปีไม่เกินวันที่ครบกำหนดวันออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม
(แก้ไขค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรม ปีละ 40 บาทต่อห้องพัก ตามกฎกระทรวง กำหนดค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ และวิธีการชำระค่าธรรมเนียม
สำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘)
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556 เห็นชอบมาตรการการบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม
ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่่ำ สมควรปรับปรุงค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรมให้เหมาะสมและเป็นไปตามมาตรการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวง
3. ภาษีป้าย
ขั้นตอนการชำระภาษีป้าย
- การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี
การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี ผู้เป็นเจ้าของป้ายหรือผู้ครอบครองป้ายจะต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี กรณีที่ติดตั้งป้ายใหม่หรือเปลี่ยนแปลงข้อความของป้าย จะต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ติดตั้งใหม่ หรือที่เปลี่ยนแปลงข้อความของป้ายใหม่
2. การชำระเงินค่าภาษี
2.1 ผู้เป็นเจ้าของป้ายหรือผู้ครอบครองป้ายต้องชำระค่าภาษี ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
2.2 กรณีที่เจ้าของป้ายยื่นแบบ (ภ.ป.1) แสดงรายการไว้ถูกต้องครบถ้วนและพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้วถูกต้อง จะแจ้งการประเมินและชำระภาษีในวันที่ยื่นแบบฯ ได้
อัตราค่าภาษีป้าย
ป้ายประเภทที่ 1 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน ให้คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
ป้ายประเภทที่ 2 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือปนกับภาพและเครื่องหมายอื่น ให้คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
ป้ายประเภทที่ 3 หมายถึง (ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่ามีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่ หรือ (ข) ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ ให้คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตรเมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้วถ้ามีอัตราต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียค่าภาษีป้ายละ 200 บาท
ป้ายประเภทที่ 4 หมายถึง ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายที่ได้เสียภาษีแล้ว อันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้คิดอัตราตาม (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี และให้เสียเฉพาะจำนวนเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น
ป้ายทุกประเภทเมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท
การไม่ยื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนด
- ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ยื่นแบบภายในกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของค่าภาษี
- ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ชำระเงินค่าภาษีภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 ของค่าภาษี
- ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องแสดงหลักฐานการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานประกอบการค้า หรือประกอบกิจการ
การขอผ่อนผันชำระภาษี
ถ้าภาษีป้ายที่ต้องชำระมีจำนวนตั้งแต่สามพันบาทขึ้นไป ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายจะขอผ่อนชำระเป็นสามงวดงวดละเท่า ๆ กันก็ได้ โดยแจ้งความจำนงเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนครบกำหนดเวลาชำระภาษี และให้ชำระงวดที่หนึ่งก่อนครบกำหนดเวลาชำระภาษี งวดที่สองภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่หนึ่งและงวดที่สามภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่สอง
การเสียเงินเพิ่ม
การเสียเงินเพิ่ม คือ ไม่ได้ชำระภาษีป้ายตามกำหนดที่ควรเสีย ทำให้ต้องเสียเงินเพิ่มด้วย โดยให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย เสียเงินเพิ่มนอกจากเงินที่ต้องเสียภาษีป้ายในกรณีและอัตราดังนี้
(1) ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย เว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้แจ้งให้ทราบถึงการละเว้นนั้น ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละห้าของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย
(2) ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้องทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีลดน้อยลง ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติมเว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูกต้องก่อนที่ พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน
(3) ไม่ชำระภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้ายเศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน ทั้งนี้ไม่ให้นำเงินเพิ่มตาม (1) และ (2) มาคำนวณเป็นเงินเพิ่ม
ข้อกฎหมายและบทลงโทษ
- หากผู้ประกอบการจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย จะมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท
- ถ้าผู้ประกอบการจงใจแจ้งข้อความเท็จ หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษี จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
- ผู้ใดไม่แจ้งรับโอนป้าย หรือไม่แสดงรายการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบกิจการ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท ระยะเวลาการให้บริการโดยประมาณ 10 นาที ต่อรายไม่รวมขั้นตอนการตรวจสอบสวน (ถ้ามี)
4.ภาษีที่ดิน ยกเลิกการจัดเก็บภาษีโรงเรือน แล้วหันมาใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแทน (อ่านเรื่องภาษีที่ดินเพิ่มเติมได้ที่ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่คนทำธุรกิจโรงแรมต้องรู้!!! คลิก…)
5.ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้จากบริการ โรงแรม-รีสอร์ทหรือจากการขายสินค้าใดๆ ในโรงแรม คุณมีหน้าที่ต้อง คุณมีหน้าที่ต้องไปเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
6.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการให้บริการธุรกิจโรงแรม-รีสอร์ท ต้องมีการว่าจ้างแรงงาน พนักงาน และบุคลากรด้านต่างๆ ภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง
7.ภาษีมูลค่าเพิ่ม การให้บริการบางอย่างคุณอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษี หรือบิลเงินสดให้ลูกค้าเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วยค่ะ
- ค่าธรรมเนียมผู้พักในโรงแรม คือเงินที่ต้องเรียกเก็บจากผู้เข้าพักโรงแรมเพื่อนำส่งให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดของแต่ละแห่งที่โรงแรมนั้นตั้งอยู่ (อ่านเรื่องค่าธรรมเนียมผู้เข้าพักในโรงแรมเพิ่มเติมได้ที่ ค่าธรรมเนียมผู้พักในโรงแรม เรื่องสำคัญที่เจ้าของโรงแรมต้องรู้! คลิก…)
อ่านมาถึงตรงนี้เริ่มตาลายกันหรือยังค่ะ? แต่ฉันเดาว่าคุณคงจะทั้งตาลายและทั้งมึนเลยละค่ะ เพราะรายจ่ายแต่ละอย่างมันเยอะแยะไปหมดเลยและต้องทำให้ถูกต้องด้วยไม่เช่นนั้นก็จะโดนปรับกันแบบอ่วมอรทัยแน่ เผลอๆทำผิดพลาดไปไม่ตรวจสอบให้ดีโทษหนักทั้งจำทั้งปรับด้วย เพลียจริง ๆ ถ้าคุณเคยเป็นลูกจ้างบริษัทหรือรับราชการแค่ทนทำงานไปจนถึงสิ้นเดือนก็มีเงินเดือนโอนเข้าธนาคารทุกเดือนอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นเจ้าของกิจการต้องอดทนเหนื่อยยากทั้งแรงกายแรงใจ ต้องขยันเรียนรู้ข่าวสารและเทรนด์ใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอเพื่อนำมาปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจของเรา บางเดือนยังต้องกินมาม่าเพื่อประหยัดเงินไว้จ่ายค่าแรงลูกน้องก็มี แต่อย่าท้อกันนะคะ เมื่อตัดสินใจเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมแล้วต้องอดทนและสู้ต่อไปค่ะ เสน่ห์ของการเป็นผู้ประกอบการสำหรับฉันมันอยู่ที่ความท้าทายนี่แหละ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านก้าวผ่านทุกปัญหาและอุปสรรคไปให้จงได้นะคะ
“เราเชื่อว่าการแบ่งปันความรู้ คือพลังที่ยิ่งใหญ่”
ขอให้ทุกท่านจงสร้างธุรกิจโรงแรมที่ดี มีคุณภาพเพื่อช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวให้กับประเทศไทยของเรา
เพื่อแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และแรงบันดาลใจ ฝากกดไลค์ กดแชร์ และบอกต่อด้วยนะคะ
มาร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันกับหลักสูตร เจ้าของโรงแรม-รีสอร์ทขนาดเล็ก ใคร ๆ ก็เป็นได้
คอร์สอบรมที่ช่วยให้คุณเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมได้ ภายใน 2 วัน
หนังสือที่คนอยากทำธุรกิจโรงแรมต้องอ่าน!!!
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
มาเป็นเพื่อนกับเราทางไลน์!!!
ถ้าไม่อยากพลาดข่าวสารและบทความดีๆ
