
กฎหมายโรงแรมฉบับแก้ไขใหม่นี้ มีแนวทางและหลักเกณฑ์ที่ผ่อนปรนมากขึ้นสำหรับสถานที่พักขนาดเล็กที่ไม่เป็นโรงแรมรวมถึงโรงแรมแต่ละประเภท ทำให้การขอใบอญาตนั้นง่ายขึ้น ดังนั้น เพื่อให้คุณเข้าใจข้อกฎหมายฉันจึงได้นำภาษากฎหมายตามกฎกระทรวงฉบับนี้มาขัดเกลาจนเป็นภาษาง่าย ๆ ที่คนธรรมดาทั่วไปอ่านแล้วเข้าใจได้มาแบ่งปันให้กับคุณค่ะ
คลิกอ่านต่อ ที่นี่
ฉันเชื่อว่าคนธรรมดาก็สามารถเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนและมีความสุขได้ ด้วยสูตร (ความรู้ + แรงบันดาลใจ + ความรัก) x ความสุข เพราะความสุข คือสิ่งที่มนุษย์ต้องการมากที่สุด มันมีพลังที่จะช่วยคุณขับเคลื่อนทุกอย่างไปสู่ความสำเร็จตามที่ใจปรารถนา และสูตรนี้คือการแบ่งปันความรู้สำหรับคนที่อยากสร้างธุรกิจโรงแรมของตนเองให้ประสบความสำเร็จตามแนวทางของ A-LISA.NET
ก่อนจะเข้าถึงเนื้อหารายละเอียดของข้อกฎหมายที่กล่าวถึงหลักเกณฑ์การขอใบอนุญาตฯ สำหรับโรงแรมที่พักแต่ละประเภท ฉันก็อยากจะขออารัมภบทให้คุณฟังสักนิดนะคะ ว่าทำไม่ฉันถึงได้สนับสนุนและแบ่งปันความรู้สำหรับการทำธุรกิจการทำธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กให้กับคุณ แต่หากคุณเบื่ออารัมภบทของฉันก็สามารถข้ามไปสู่เนื้อหาเน้นๆ เรื่องกฎหมายได้เลยค่ะ
มีบันทึกเอาไว้ว่า คนรู้จักการท่องเที่ยวมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ส่วนลักษณะการท่องเที่ยวนั้นก็มีวิวัฒนาการและกระแสความนิยมเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เรื่องของการท่องเที่ยวนี้ก็มีผู้เชี่ยวชาญบอกไว้ว่าน่าจะเริ่มต้นแบบจริงจังในสมัยโรมัน คนในยุคนั้นเดินทางท่องเที่ยวเพื่อไปดูสถานที่ที่น่าสนใจอย่างเช่น ไปดูปราสาทพระราชวังของกษัตริย์ สุสานปิรามิดของฟาโรต์องค์ต่าง ๆ เป็นต้นค่ะ ต่อมาการเดินทางท่องเที่ยวเข้าสู่ยุคแห่งเหตุและผล (The Age of Reason) คนนิยมท่องเที่ยวเพื่อศึกษาหาความรู้ ดื่มเหล้า ดื่มชาตามสถานที่พักแรมเพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ ต่อมาเมื่อย่างเข้าสู่กลางศตวรรษที่ 18 ก็เข้าสู่ยุคโรแมนติก นักท่องเที่ยวเริ่มนิยมชมชอบดูวิวทิวทัศน์ที่เป็นไร่นา ชื่มชมธรรมชาติในท้องถิ่นชนบท และเมื่อใกล้สิ้นสุดยุคโรแมนติก แฟชั่นการท่องเที่ยวก็หันไปนิยมชมชอบการดูทิวทัศน์ภูเขา ในยุคนี้นั้นถือว่าเป็นยุคเฟื่องฟูของการท่องเที่ยวชมภูเขาในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ คนใหญ่คนโตคนที่มีชื่อเสียงก็ต่างนิยมเดินทางไปดูภูเขาที่สวยงามกันที่สวิส จนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างโรงแรมในยุคแรก ๆ
คนในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ไม่ได้เก่งกาจเฉพาะในเรื่องของนาฬิกาและการธนาคารเท่านั้น แต่ยังเก่งกาจในเรื่องของการทำอาหารและการทำธุรกิจโรงแรมที่พัก ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าเมื่อเอ่ยถืงผู้จัดการโรงแรมเก่ง ๆ สถาบันสอนธุรกิจโรงแรมชื่อดัง จึงอยู่ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์เป็นส่วนใหญ่
ธุรกิจท่องเที่ยวนั้นมีทั้งส่วนที่ดีและส่วนที่เสีย เมื่อกล่าวถึงส่วนดีก่อนก็มีข้อดีอยู่มากมาย เช่น ทำให้เศรษฐกิจเฟื่องฟู เงินตราใหลเข้าประเทศ ช่วยสร้างงานให้กับคนในประเทศ ฟื้นฟูศิลปะวัฒนธรรมและงานฝีมือระดับท้องถิ่นเพื่อเอาไว้จัดแสดงและจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวเอากลับไปดูเป็นที่ระลึกหรือเป็นของขวัญของฝาก แต่เมื่อกล่าวถึงส่วนเสียก็น่าหนักใจไม่น้อยค่ะ เพราะการพัฒนาในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เฟื่องฟูทำให้เกิดเม็ดเงินมหาศาล ดังนั้น จึงมีนักลงทุนชาวต่างชาติที่มองเห็นโอกาสเข้ามากว้านซื้อที่ดินจำนวนมากเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่หลั่งใหลเข้ามาในพื้นที่
อ่านมาถึงตรงนี้ คุณพอจะคาดเดาได้หรือยังคะว่าฉันอยากสื่อสารอะไรถึงคุณ ถ้าคุณเดาไม่ถูกก็ไม่เป็นไรค่ะเพราะฉันตั้งใจจะเฉลยเอาไว้แต่แรกอยู่แล้ว เมื่อพูดถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประเทศไทยของเราก็นับว่าเป็นอับดับต้น ๆ ของโลกที่ถูกเล็งเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว เพราะประเทศเราตั้งอยู่ในทำเลที่ดีมีทัศนียภาพที่สวยงามทั้งแม่น้ำ ทะเล ภูเขา และยังมีศิลปวัฒนะธรรมเป็นเอกลักษณ์สืบทอดมาอย่างยาวนานเอาไว้อวดสายตาชาวโลก ก็โดดเด่นซะขนาดนี้ย่อมต้องเป็นที่เพ่งเล็งของนักลงทุนชาวต่างชาติ ดังนั้น พื้นที่ที่เป็นเมืองท่องเที่ยวหลักของประเทศจึงล้วนแต่ตกอยุ่ในมือของนักลงทุนชาวต่างชาติเกือบทั้งหมดแล้ว พวกเขาขนเงินที่มีมูลค่าสูงกว่าเงินบาทของพวกเรามาซื้อภูเขาได้ทั้งลูก ซื้อชายหาดได้ทั้งผืน ในขณะที่คนไทยได้แต่มองตาปริบ ๆ ไม่มีปัญญาจะซื้อ และยังมีนักการเมืองบางพรรคที่ออกนโยบายเอื้อต่อนายทุนต่างชาติพวกนี้ รวมทั้งมีเจ้าหน้าที่ของรัฐบางส่วนงานช่วยอำนวยความสะดวกเพื่อให้การครอบครองที่ดินของนายทุนต่างชาติดำเนินการได้โดยง่ายและผ่านฉลุย เมื่อรู้ดังนี้แล้ว คุณที่เป็นคนไทยเจ้าของประเทศที่มีที่ดินเป็นของตัวเอง คุณจะยอมให้เกิดการสูญเสียที่ดินให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติแบบนี้ต่อไปหรือคะ
ถ้าคำตอบของคุณคือ ไม่ ฉันก็อยากถือโอกาสแนะนำให้คุณนำที่ดินในมือที่คุณมีมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดประโยชน์ด้วยตนเองดีกว่านำไปขายให้กับชาวต่างชาติค่ะ การสร้างมูลค่าเพิ่มของที่ดินนี้ก็คือการนำเอาที่ดินมาสร้างธุรกิจโรงแรมที่พักดี ๆ ไว้บริการลูกค้าเพื่อสร้างรายได้ และยังสามารถส่งมอบเป็นมรดกให้กับลูกหลานต่อไปในอนาคตด้วยค่ะ หากคุณแย้งว่าไม่เคยทำธุรกิจนี้มาก่อน ไม่มีประสบการณ์ และไม่มีความรู้ คุณอย่ากลัวค่ะ ฉันจะแบ่งปันสิ่งเหล่านี้ให้กับคุณเอง
ในตอนนี้ ทางภาครัฐก็ได้แก้ไขกฎหมายโรงแรมฉบับใหม่สนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและที่พักในประเทศ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการที่อยากจะลงทุนในธุรกิจโรงแรมที่พักขนาดเล็กหรือบางท่านที่มีบ้านเก่า มีอาคารเก่าที่ทรงคุณค่าอยู่แล้ว ก็สามารถนำมาดัดแปลงแก้ไขเป็นที่พักประเภทโรงแรมและสามารถขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมได้ง่ายขึ้นแล้วค่ะ
กฎกระทรวง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2566 ทั้ง 2 ฉบับ ที่แก้ไขออกมาใหม่นี้ก็คือกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แม้จะเขียนเป็นภาษาไทยแต่ฉันก็แน่ใจว่าคงมีผู้ประกอบการไม่น้อยที่อาจจะอ่านภาษาของกฎหมายไม่เข้าใจ ฉันจึงได้นำกฎกระทรวงฉบับแก้ไขใหม่นี้มางัดแงะแกะเกลาให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย หากคุณเป็นคนธรรมดาที่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมที่พักขนาดเล็กแต่ไม่มีความรู้พื้นฐานในด้านภาษากฎหมายอ่านแล้วก็เข้าใจได้ง่ายสามารถนำมาเป็นแนวทางสร้างธุรกิจโรงแรมของตัวเองจนประสบความสำเร็จกระทั่งดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตด้วยตนเองได้อย่างสะดวกราบรื่นค่ะ
กฎกระทรวง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2566
ได้ระบุเอาไว้ว่า
ข้อ 1 ข้อกฎหมายในกฎกระทรวงนี้ให้บังคับใช้หลังจากพ้น 60 วัน นับจากวันประกาศ นั่นแปลว่าจะกฎหมายฉบับแก้ไขใหม่นี้เริ่มบังคับใช้ได้ตั้งแต่ วันที่ 30 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป (ถ้านับวันคลาดเคลื่อนก็ขออภัยด้วยนะคะ)
ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อความในข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2551 แล้วให้ “สถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม” มีห้องพักในอาคารเดียวกัน หรือหลายอาคารรวมกันแล้วแต่กรณี มีห้องพักรวมกันไม่เกิน 8 ห้อง และรองรับผู้พักรวมกันได้ไม่เกิน 30 คน เพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับบุคคลทั่วไปโดยมีค่าตอบแทน
ผู้ประกอบการที่ต้องการขอหนังสือรับแจ้งสถานที่พักไม่เป็นโรงแรม ให้แจ้งต่อนายทะเบียนและเมื่อเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากนายทะเบียนเข้าตรวจสอบแล้วเป็นไปตามที่กำหนดไว้ นายทะเบียนก็จะออกหนังสือรับแจ้งให้ภายใน 40 วัน นับแต่วันที่แจ้ง
ข้อ 3 การแจ้งขอหนังสือรับแจ้งสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม ให้ดำเนินการโดยวิธีทางอิเล็กทรอนิกตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็คทรอนิก หรือในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการตามวิธีการทางอิเล็กทรอนิกได้ หากสถานที่พักนั้นอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ให้ดำเนินการได้ที่ สำนักการสอบสวนและนิติกร กรมการปกครอง และในกรณีที่สถานที่พักนั้นอยู่ต่างจังหวัด ให้ดำเนินการได้ที่ การปกครองอำเภอท้องที่ที่สถานที่พักนั้นตั้งอยู่
ข้อ 4 กำหนดหลักเกณฑ์โรงแรม 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
- โรงแรมประเภทที่ 1 หมายความว่า โรงแรมที่ให้บริการเฉพาะห้องพัก และมีห้องพักไม่เกิน 50 ห้อง
- โรงแรมประเภท 2 หมายความว่า โรงแรมที่ให้บริการเฉพาะห้องพักเกิน 50 ห้องขึ้นไป หรือโรงแรมที่ให้บริการห้องพักและห้องอาหาร หรือสถานที่สำหรับบริการอาหาร หรือสถานที่สำหรับประกอบอาหาร
- โรงแรมประเภท 3 หมายความว่า โรงแรมที่ให้บริการเฉพาะห้องพัก ห้องอาหาร หรือสถานบริการอาหารหรือสถานที่สำหรับประกอบอาหาร และสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการหรือห้องประชุมสัมมนา
- โรงแรมประเภท 4 หมายความว่า โรงแรมที่ให้บริการห้องพัก ห้องอาหารหรือสถานที่สำหรับประกอบอาหาร สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการและห้องประชุมสัมมนา
ข้อ 5 อาคารลักษณะพิเศษ
5.1 อาคารลักษณะพิเศษประเภท แพ หรือสิ่งก่อสร้างที่ลอยอยู่ในน้ำได้ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
5.1.1 จัดให้มีเครื่องลอยน้ำ หรือเสื้อชูชีพไม่น้อยกว่าจำนวนของผู้พักแต่ละห้องพักและผู้ให้บริการ โดยติดตั้งไว้ในตำแหน่งที่สามารถเข้าถึงได้โดยสะดวกและมีป้ายแสดงจุดติดตั้งที่สมารถมองเห็นได้ชัดเจน
5.1.2 จัดให้มีเครื่องป้องกันหรือราวกันตกโดยรอบอย่างมั่นคงแข็งแรง
5.1.3 จัดให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอ
5.1.4 จัดให้มีเครื่องดับเพลิงตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารกำหนด
5.1.5 กรณีที่มีร้านอาหารและให้บริการอาหารในที่พักประเภทแพ ต้องจัดให้มีถังเก็บเศษอาหารขนาดไม่น้อยกว่า 40 ลิตร โดยจัดให้มีจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ถัง ต่อผู้พัก 30 คน
5.2 อาคารที่มีลักษณะพิเศษประเภท เต๊นท์ กระโจม โครงสร้างแบบอัดอากาศ หรือสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน หรืออาคารลักษณะพิเศษประเภทซากยานพาหนะ ท่อคอนกรีตสำเร็จรูป ตู้คอนเทนเนอร์ หรือ สิ่งก่อสร้างที่สูงจากพื้นดิน 2 เมตรขึ้นไปโดยมีการแขวน เกาะเกี่ยว ยึดโยง เช่น บ้านต้นไม้ เป็นต้น ต้องจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอในห้องพักและบริเวณทางเดินระหว่างอาคารกับสถานที่อื่นใดภายในบริเวณโรงแรม
ข้อ 6 โรงแรมต้องจัดให้มีห้องน้ำและห้องส้วมในส่วนที่ให้บริการสาธารณะ โดยจัดให้แยกส่วนชายหญิงชัดเจน และต้องรักษาความสะอาดสม่ำเสมอ
โรงแรมประเภท 1 และประเภท 2 หรือโรงแรมที่ให้บริการห้องพักรวมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร โดยคิดค่าบริการเป็นรายคน ต้องจัดให้มีห้องน้ำและห้องส้วมเพียงพอสำหรับผู้เข้าพัก
ข้อ 7 ห้องพักต้องมีเลขที่ห้องกำกับไว้ทุกห้องเป็นตัวเลขอารบิก โดยแสดงไว้บริเวณด้านหน้าห้องพักที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และในกรณีที่โรงแรมมีหลายอาคาร เลขที่ประจำห้องพักแต่ละอาคารต้องไม่ซ้ำกัน
ถ้าเป็นห้องพักรวมที่ให้บริการเป็นรายคน ต้องจัดให้มีเลขที่ประจำเตียงกำกับไว้ทุกเตียงเป็นตัวเลขอารบิก โดยให้แสดงไว้บริเวณที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วย
ข้อ 8 ประตูห้องพักให้มีช่องที่สามารถมองเห็นจากภายในสู่ภายนอกห้องพักได้ และมีกลอนหรืออุปกรณ์อื่นที่สามารถล็อคจากภายในห้องพักทุกห้อง เว้นแต่ เป็นอาคารที่มีลักษณะพิเศษประเภท เต๊นท์ กระโจม โครงสร้างแบบอัดอากาศ หรือสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ที่สามารถล็อคห้องพักทั้งจากภายในและภายนอก แต่ไม่ต้องมีช่องหรือวิธีการอื่นที่สามารถมองเห็นจากภายในสู่ภายนอกห้องพัก
ข้อ 9 อาคารสำหรับใช้เป็นโรงแรม ที่ตั้งอยู่ในท้องที่ที่มีกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารใช้บังคับ ต้องมีหลักฐานแสดงว่าได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารเพื่อให้ใช้อาคารเป็นโรงแรม
ข้อ 10 ให้ยกเลิกกฎหมายเดิมที่ระบุถึงข้อกำหนดของโรงแรมประเภท 1 และประเภท 2
ข้อ 11 ให้ยกเลิกกฎหมายเดิมที่ระบุถึงข้อกำหนดของโรงแรมประเภท 3 และประเภท 4 แต่ให้ใช้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้แทน
11.1 โรงแรมประเภท 3 และประเภท 4 ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะในห้องพักทุกห้อง เว้นแต่ห้องพักที่ให้บริการห้องพักรวมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารโดยคิดค่าบริการเป็นรายคน
11.2 กรณีที่มีห้องพักไม่เกิน 80 ห้อง ห้ามมีสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ เว้นแต่
- โรงแรมที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เพื่ออนุญาตให้ตั้งสถานบริการได้ทุกประเภท
- โรงแรมที่ตั้งอยู่นอกเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ หรือโรงแรมที่ตั้งอยู่ในท้องที่งดอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ มีได้เฉพาะสถานบริการตามารตรา 3(5) แห่ง พ.ร.บ. สถานบริการ พ.ศ. 2509 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. สถานบริการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546
หมายเหตุ : สถานบริการตามารตรา 3(5) แห่ง พ.ร.บ. สถานบริการ พ.ศ. 2509 คือ สถานบริการที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายโดยจัดให้มีการแสดงดนตรี หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง ซึ่งปิดทำการหลังเวลา 24.00 น.
ข้อ 12 การแจ้งสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม ที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนก่อนวันที่กฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับ และอยู่ระหว่างที่นายทะเบียนกำลังพิจารณาออกหนังสือรับรอง ให้ถือว่าแจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎกระทรวงนี้
ข้อ 13 หนังสือรับแจ้งที่นายทะเบียนออกให้ก่อนวันที่กฎกระทรวงฉบับนี้บังคับใช้ ให้ถือว่าเป็นหนังสือรับแจ้งตามกฎกระทรวงนี้ และมีอายุ 5 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
ข้อ 14 ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมก่อนที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ หากประสงค์จะแจ้งเป็น “สถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม” ให้แจ้งยกเลิกกิจการตามมาตรา 27 และแจ้งต่อนายทะเบียนทราบว่ามีความประสงค์จะแจ้ง “เป็นสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม”
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ ก็เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการที่มีอาคารเก่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มาดัดแปลงเปลี่ยนเป็นโรงแรมที่พักเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งหากนำอาคารเก่าเหล่านี้มาปรับปรุงตามกฎกระทรวงฉบับเดิมเพื่อให้สามารถยื่นขอใบอนุญาตฯ ได้ ก็อาจทำให้อาคารที่ทรงคุณค่าเหล่านี้สูญเสียเอกลักษณ์ไป ภาครัฐจึงได้ออกกฎกระทรวงฉบับใหม่แก้ไขเพิ่มเติมจากข้อกฎหมายเดิมที่อนุญาตให้ “สถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม” มีห้องพักได้ไม่เกิน 4 ห้องและมีจำนวนผู้เข้าพักได้ไม่เกิน 20 คน แก้ไขใหม่เป็น สามารถมีจำนวนห้องพักได้ไม่เกิน 8 ห้อง และมีจำนวนผู้เข้าพักได้ไม่เกิน 30 คน และยังอนุญาตให้นำอาคารที่มีลักษณะพิเศษมาใช้ประกอบธุรกิจให้บริการห้องพักเพิ่มขึ้น เช่น โฮมสเตย์ที่ให้บริการแบบห้องพักรวมแต่คิดค่าบริการเป็นรายคน แพ เต๊นท์ กระโจม ตู้คอนเทนเนอร์ บ้านต้นไม้ เป็นต้น
เมื่อภาครัฐแก้ไขกฎหมายโรงแรมใหม่เพื่อให้การสนับสนุนธุรกิจในกลุ่มกอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและที่พักแบบนี้ ฉันเชื่อว่าคงมีหลายคนที่มองเห็นโอกานนี้ และฉันก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีผู้ประกอบการหลายท่านอยากนำที่ดินหรือสถานที่ที่เอื้อประโยชน์ต่อการทำธุรกิจโรงแรมที่พักมาสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการลงทุนในธุรกิจนี้ ดีกว่าที่จะขายที่ดินในประเทศของเราให้ตกไปอยู่ในมือของนักลงทุนชาวต่างชาติ
ฉันหวังว่าการนำเนื้อหาหลักเกณฑ์การขอใบอนุญาตฯ สำหรับสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมและโรงแรมแต่ละประเภทตามกฎกระทรวงฉบับแก้ไขใหม่มาแบ่งปันนี้ จะเป็นแนวทางให้คุณนำไปวางแผนดำเนินการก่อสร้างและเตรียมการขอใบอนุญาตฯ ได้แบบผ่านฉลุยไม่มีสะดุดนะคะ
อ่านเพิ่มเติม :
ข่าวดีมาแล้ว! กฎหมายโรงแรมฉบับใหม่ ที่ช่วยให้เจ้าของโรงแรมที่พักขนาดเล็กขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมได้ง่ายขึ้น คลิกที่นี่
นี่เป็นความรู้และแรงบันดาลใจที่ฉันนำมาแบ่งปันให้กับคุณค่ะ ส่วนความรักและความสุขคุณต้องเติมใส่ลงไปเองนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไปค่ะ
กฎกระทรวง การกำหนดลักษณะและระบบความปลอดภัยของอาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2566

กฎกระทรวง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566

กฏกระทรวงฉบับที่ 55

กฎกระทรวงฉบับที่ 33

กฎกระทรวงฉบับที่ 6

“คุณสามารถเปลี่ยนตัวเองจากคนธรรมดาให้กลายเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้ แค่เพียงมีความรู้ มีแรงบันดาลใจ และมีความสุข ฉันอยู่ที่นี่เพื่อจะแบ่งปันสิ่งเหล่านี้ให้กับคุณค่ะ”
มาร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันกับหลักสูตร เจ้าของโรงแรม-รีสอร์ทขนาดเล็ก ใคร ๆ ก็เป็นได้
คอร์สอบรมที่ช่วยให้คุณเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมได้ ภายใน 2 วัน
หนังสือที่คนอยากทำธุรกิจโรงแรมต้องอ่าน!!!
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
มาเป็นเพื่อนกับเราทางไลน์!!!
ถ้าไม่อยากพลาดข่าวสารและบทความดีๆ