ถ้าคุณเป็นเจ้าของอพาร์ทเม้นท์ ห้องเช่า หรือมีอาคารประเภทอื่นอยู่แล้ว แต่มองเห็นโอกาสในการทำธุรกิจโรงแรมเพื่อขายห้องพักรายวัน จึงอยากนำเอาอาคารเหล่านั้นมาเปลี่ยนเป็นโรงแรมและขอใบอนุญาตฯให้ถูกต้อง แล้วการนำเอาอาคารประเภทอื่นมาเปลี่ยนเป็นโรงแรมนั้นสามารถทำได้หรือไม่ ?
คลิกอ่านต่อ ที่นี่
การนำเอาอาคารประเภทอื่นมาเปลี่ยนเป็นโรงแรมนั้น อาจมีลักษณะและโครงสร้างเดิมที่ไม่สอดคล้องกับอาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม จึงอาจทำให้อาคารดังกล่าวไม่สามารถขอใบอนุญาตเพื่อประกอบธุรกิจโรงแรมได้ แต่ถ้าคุณยืนยันว่าต้องการนำเอาอาคารประเภทอื่นมาเปลี่ยนเป็นโรงแรมและต้องการทำให้ถูกต้องด้วย จะต้องทำอย่างไรบ้าง ในบทความนี้มีคำตอบค่ะ
สำหรับท่านที่นำอาคารประเภทอื่นมาทำเป็นโรงแรมไปแล้ว และกำลังเตรียมการเพื่อยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมให้ถูกต้องแต่ยังไม่แล้วเสร็จเพราะต้องแก้โน่นแก้นี่ตามที่ทางการเขาบอก ก็อย่าเพิ่งหมดกำลังใจกันนะคะ ท่องไว้ว่าทุกปัญหามีทางออก มันแค่บททดสอบความท้ายให้เราแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ในบทความนี้ฉันจึงนำ ระเบียบที่กฎกระทรวงกำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่นำมาใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม มาช่วยตีความให้อ่านแล้วเข้าใจได้ยิ่งง่ายขึ้นเพื่อช่วยคุณผู้อ่านในการดำเนินการแก้ไขอาคารที่นำมาทำเป็นโรงแรมให้ถูกต้องในแต่ละขั้นตอนค่ะ
หลักเกณฑ์และข้อกำหนด การนำอาคารประเภทอื่นมาดัดแปลงเพื่อประกอบธุรกิจโรงแรม
กำหนดให้ใช้ได้กับโรงแรม 2 ประเภท ดังนี้
- โรงแรมประเภท 1 ให้บริการเฉพาะห้องพัก
- โรงแรมประเภท 2 ให้บริการห้องพักและห้องอาหาร
และอาคารจะต้องมีที่ว่างของอาคารไม่น้อยกว่า 10 ใน 100 ส่วน ของพื้นที่ชั้นใดชั้นหนึ่งที่มากที่สุดของอาคาร
หลักเกณฑ์ของอาคารที่นำมาดัดแปลงเป็นโรงแรม
1.อาคารไม่เกิน 2 ชั้น ห้องพักในอาคารหลังเดียวกันไม่เกิน 10 ห้อง
จะต้องมีช่องทางเดินไม่น้อยกว่า 1 เมตร บันไดกว้างกว่า 0.9 เมตร และระยะห่างตามแนวทางเดินไม่น้อยกว่า 40 เมตรจากจุดที่ไกลที่สุดบนพื้นที่ชั้นนั้น และสามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกจรเฉลี่ยได้ไม่ต่ำกว่า 150 กก./ตร.ม. รวมทั้งต้องติดตั้งเครื่องมือดับเพลิงแบบมือถือตามมาตรฐานไว้ชั้นละ 1 เครื่อง และโดยที่ส่วนบนสุดของตัวเครื่องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร
2. อาคาร 1 ชั้น ห้องพักในอาคารหลังเดียวกัน ไม่เกิน 20 ห้อง
ช่องทางเดินในอาคารจะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.2 เมตร และสามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกจรได้ไม่ต่ำกว่า 200 กิโลกรัม/ตารางเมตร
3. อาคาร 1 ชั้น ห้องพักในอาคารหลังเดียวกัน มากกว่า 20 ห้อง
ช่องทางเดินของอาคารจะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร และสามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกจรได้ไม่ต่ำกว่า 200 กิโลกรัม/ตารางเมตร
4. อาคาร 3 ชั้น
หากมีเสา คาน ตง พื้น บันได โครงหลังคา และผนังของอาคารที่ทำด้วยวัสดุไม่ทนไฟ ให้สามารถดัดแปลงและหรือเปลี่ยนการใช้มาประกอบธุรกิจโรงแรมได้ แต่จะต้องติดตั้งระบบความปลอดภัยด้านอัคคีภัยเพิ่มเติมทุกชั้นตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้
- ติดตั้งระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ ประกอบด้วย
1.อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนเพื่อหนีไฟให้คนที่อยู่ในอาคารได้ยินหรือทราบอย่างทั่วถึง
2.อุปกรณ์แจ้งเหตุทั้งระบบอัตโนมัติและระบบแจ้งเหตุที่ใช้มือเพื่อให้อุปกรณ์นั้นทำงาน
- ติดตั้งระบบไฟส่องสว่างสำรอง เพื่อให้มีแสงสว่างสามารถมองเห็นทางเดินได้ขณะไฟใหม้ มีป้ายบอกชั้นและป้ายบอกทางหนีไฟที่ด้านในและด้านนอกของประตูหนีไฟด้วยตัวอักษรที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน มีขนาดไม่เล็กกว่า 10 เซนติเมตร
- ติดตั้งเครื่องดับเพลิง แบบมือถือ 1 เครื่อง ต่อพื้นที่อาคารไม่เกิน 200 ตาราเมตร ทุกระยะไม่เกิน 30 เมตร แต่ไม่น้อยกว่าชั้นละ 2 เครื่อง
5. อาคารตั้งแต่ 4 ชั้นขึ้นไป ต้องมีเงื่อนไขในการป้องกันอัคคีภัยดังต่อไปนี้
- อาคารตั้งแต่ 4 ชั้นขึ้นไป เสา คาน ตง พื้น บันได โครงหลังคา และผนังของอาคาร ต้องทําด้วยวัสดุถาวรที่เป็นวัสดุทนไฟ
- บันไดหนีไฟที่ไม่ใช่บันไดในแนวดิ่งซึ่งมีความเหมาะสมกับพื้นที่ของอาคารแต่ละชั้น เพื่อให้สามารถลําเลียงบุคคลทั้งหมดในอาคารออกนอกอาคารได้ภายในหนึ่งชั่วโมง
- บันไดหนีไฟภายในอาคารต้องมีผนังทุกด้านโดยรอบที่ทําด้วยวัสดุทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 30 นาที
- กรณีที่นําบันไดหลักมาเป็นบันไดหนีไฟหรือมีบันไดหนีไฟเพิ่มจากบันไดหลักช่องประตูสู่บันไดหนีไฟต้องเป็นบานเปิดทําด้วยวัสดุทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 30 นาที พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ชนิดที่บังคับให้บานประตูปิดได้เองเพื่อป้องกันควันและเปลวไฟมิให้เข้าสู่บันไดหนีไฟ
- ต้องมีทางเดินไปยังบันไดหนีไฟโดยไม่มีสิ่งกีดขวาง
- ต้องมีความลาดชันของบันไดน้อยกว่า 60 องศา
“กฎกระทรวง กำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561” ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 เพื่อขยายระยะเวลาให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารประเภทอื่น มีระยะเวลาในการดำเนินการเพื่อให้ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารหรือใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารมาประกอบธุรกิจโรงแรมได้ภายใน 5 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ คือถึง วันที่ 25 ตุลาคม 2566
จากเดิมการแก้ไขโดยกฎกระทรวงฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ทำให้อาคารที่จะต้องมีการดัดแปลงอาคารได้รับการขยายระยะเวลาในการดำเนินการออกไปอีก 3 ปี กล่าวคือต้องได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารหรือได้รับใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารมาประกอบธุรกิจโรงแรม แล้วแต่กรณี ภายในวันที่ 18 สิงหาคม 2564
ดูรายละเอียด
กฎกระทรวงกำหนดลักษณะอาคารอื่นมาใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม คลิ๊กที่นี่
กฎกระทรวงกำหนดลักษณะอาคารอื่นมาใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม (ฉบับที่ 2) คลิ๊กที่นี่
หวังว่ารายละเอียดที่แกะมาให้อ่านจากกฎกระทรวงให้เป็นภาษาแบบชาวบ้านทั่วไปอ่านแล้วเข้าใจง่าย จะเป็นประโยชน์กับท่านที่กำลังดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมได้บ้างนะคะ ถ้าอาคารที่นำมาดัดแปลงเป็นโรงแรมของเรายังไม่เป็นไปตามระเบียบที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ต้องไปดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จก่อนนะคะถึงจะสามารถทำเรื่องยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุกิจโรงแรมได้ ซึ่งระเบียบต่าง ๆ ที่ได้กำหนดมาแล้วนี้ด้วยเหตุผลก็เพื่อความปลอดภัยในการอยู่อาศัยของผู้เข้าพักค่ะ สำหรับท่านที่ทำถูกต้องอยู่แล้วก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่สำหรับบางท่านที่ต้องแก้ไขปรับปรุงตัวอาคารก่อนขออนุญาตก็อย่าท้อนะคะ คิดซะว่าทำเพื่อความปลอดภัยของตัวเราเองและลูกค้าของเราด้วยค่ะ กันไว้ดีกว่าแก้

“คุณสามารถเปลี่ยนตัวเองจากคนธรรมดาให้กลายเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้ แค่เพียงมีความรู้ มีแรงบันดาลใจ และมีความสุข ฉันอยู่ที่นี่เพื่อจะแบ่งปันสิ่งเหล่านี้ให้กับคุณค่ะ”
มาร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันกับหลักสูตร เจ้าของโรงแรม-รีสอร์ทขนาดเล็ก ใคร ๆ ก็เป็นได้
คอร์สอบรมที่ช่วยให้คุณเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมได้ ภายใน 2 วัน
หนังสือที่คนอยากทำธุรกิจโรงแรมต้องอ่าน!!!
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
มาเป็นเพื่อนกับเราทางไลน์!!!
ถ้าไม่อยากพลาดข่าวสารและบทความดีๆ